9/10/2555

ทิศทางธุรกิจพลังงานทดแทน 2555

ใน ปีแห่งความสุข 2555 พลังงานก็ยังคงเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะพลังงานทดแทนที่ดูเหมือนจะเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากการพยายามแนะนำเรื่องของพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐรวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน จนในปีที่ผ่านมาธุรกิจในด้านพลังงานทดแทนมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น และในปีนี้เรามาดูกันว่า พลังงานทดแทนชนิดใดที่มีแนวโน้ม ในการทำธุรกิจที่สดใส

เมื่อ เดือนที่ผ่านมามีการจัดสัมมนาในหัวข้อ “พลังงานทดแทนธุรกิจที่น่าลงทุน” ในงาน Innomart Technomart 2012 โดยเป็นความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรด้านพลังงานหลายท่าน โดยหัวข้อสัมมนาดังกล่าวจะชี้ให้เห็นเทรนด์ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนที่มีแนว โน้มและโอกาสให้ผลกำไรสูงสุด

พลังงานลมและแสงอาทิตย์
กล่าว ได้ว่าพลังงานทั้งลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจอย่างมากในปีที่ผ่าน มา เนื่องจากการกระตุ้นธุรกิจจากภาครัฐด้วยการอุดหนุนราคาส่วนต่างรับซื้อไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า Adder ซึ่งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มที่ได้รับเงินส่วนต่างสูง อันดับต้นของจำนวนพลังงานทดแทนหลายชนิดจากภาครัฐ ส่งผลให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างมากมาย

ภาค รัฐจึงได้ปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี โดยเพิ่มเพดานการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 500MW เปลี่ยนเป็น 2,000MW และพลังงานลมจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 800MW เปลี่ยนเป็น 1,200MW ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนยอดฮิตทั้ง 2 ชนิดนี้

พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ
พลังงาน จากชีวมวลและก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานอีก 2 ชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมาเช่นกัน เนื่องจากสามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ง่ายจากภายในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนการเกษตรโดยใช้แกลบชานอ้อย เป็นต้น ทำให้มีการปลูกไม้โตเร็วเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตที่มากเกินไป ภาครัฐจึงมีการปรับแผนจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3,700MW ลดลงเหลือ 3,630MW

ขณะ ที่ก๊าซชีวภาพเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากการหาวัตถุดิบที่ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตมาจากขยะและยังเป็นการช่วยปัญหาด้านขยะลงอีกด้วย อีกทั้งกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนและยังมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีอีกด้วย การลงทุนก็ไม่สูงมาก ภาครัฐจึงปรับเพิ่มจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 120MW ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 600MW

แปลงขยะให้กลายเป็นพลังงาน
นอก จากการเปลี่ยนสภาพให้ขยะกลายเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพแล้วขยะยังสามารถนำมาผลิต พลังงานได้โดยตรงอีกด้วย โดยภาครัฐยังกำหนดไว้ตามแผนเดิมคือ 160MW ซึ่งขยะที่นี้หมายถึงขยะกลุ่มที่ไม่ใช่ขยะจากธรรมชาติ แต่เป็นกลุ่มขยะจากการสังเคราะห์เช่น พลาสติก เป็นต้น โดยรัฐบาลพยายามผลักดันให้มีการผลิตพลังงานจากขยะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมี ปริมาณขยะโดยเฉลี่ย 40,000 ตันต่อวัน ปริมาณดังกล่าวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ราว 500MW

ขยะ พลาสติกก็สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันได้ โดยการสังเคราะห์สารสกัดปิโตรเลียมที่อยู่ในพลาสติก ซึ่งน้ำมันที่ได้สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในอุตสาหกรรมได้ และหากต้องการความบริสุทธิ์ก็ยังมีขั้นตอนและกระบวนการที่ช่วยให้น้ำมันที่ สังเคราะห์ที่ได้จากขยะสามารถใช้กับเครื่องยนต์รถยนต์ดีเซลทั่วไปด้วย โดยรัฐบาลมีการประกันราคารับซื้อน้ำมันดังกล่าวจากผู้ผลิตรายย่อยอีกด้วย

เอทานอลและไบโอดีเซล
เป็น ที่ทราบกันดีว่าน้ำมันที่ใช้ในรถยนต์ปัจจุบันเริ่มมีการผสมเชื้อเพลิงอื่น เข้าไปในสัดส่วนที่แตกต่างกันทั้งในกลุ่มน้ำมันเบนซิน เช่น แก๊สโซฮอล์ E10-E85 และกลุ่มน้ำมันดีเซลหรือที่เรียกกันว่าไบโอดีเซลซึ่งเป็นการผสมสารเอทานอลลง ไปในน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเอทานอลได้จากผลผลิตทางธรรมชาติไม่ว่าอ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น โดยปัจจุบันเอทานอลที่ได้สกัดจากกากน้ำตาลหรือโมลาส

ส่วน ไบโอดีเซลก็สามารถผลิตได้จากผลปาล์ม ซึ่งปลูกมากทางภาคใต้นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้ไบโอดีเซลมี ความบริสุทธิ์มากขึ้น

งาน นี้ขอ เคาะโต๊ะ เลยว่า พลังงานทดแทนที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนสามารถลงทุนได้ผลกำไรทั้งสิ้น แต่ต้องบอกว่ากลุ่มเอทานอลและไบโอดีเซลน่าลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังสามารถเติบโตขึ้นได้อีกในแง่ของปริมาณการใช้ เช่น เอทานอลที่ในปัจจุบันหากผลิตเต็มกำลังจะสามารถผลิตได้ประมาณ 5 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ปริมาณการใช้จริงอยู่ที่ราว 1 ล้านลิตรต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ขณะ ที่ไบโอดีเซลมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก เนื่องจากไบโอดีเซลสามารถผลิตได้จากหลายรูปแบบไม่ได้จำกัดเพียงปาล์มเท่า นั้น ซึ่งสืบเนื่องมาจากวิกฤติปาล์มขาดตลาดในปลายปี 2553 ทำให้มีการคิดค้นวิธีผลิตไบโอดีเซลไม่ว่าจะเป็นการผลิตจากผลสบู่ดำ, การใส่สารเติมแต่งจนได้น้ำมัน ED95, การผลิตน้ำมันดีโซฮอล์, การผลิตน้ำมัน BHD เป็นต้น ส่งผลให้การลงทุนในธุรกิจด้านนี้น่าสนใจมากที่สุด

ขณะ ที่กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์และลมมีการลงทุนค่อนข้างมากประกอบกับต้นทุนวัตถุ ดิบที่ถูกลง เมื่อความต้องการขาย (Supply) มากกว่าความต้องการซื้อ (Demand) จะส่งผลให้ต้องลดกำไรลงเพื่อแย่งชิงการขายพลังงานและนั่นจะทำให้ระยะเวลาคืน ทุนยาวนานออกไปอีกด้วย

ส่วน พลังงานจากชีวมวลจำเป็นต้องมีการลงทุนสูง เนื่องจากในอนาคตจำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านของการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มปริมาณในการผลิต เพราะการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรจะขึ้นอยู่กับรอบของการผลิต ส่วนพลังงานก๊าซชีวภาพและพลังงานจากขยะ จะมีปัญหาใกล้เคียงกันคือเรื่องของปริมาณ เนื่องจากสามารถผลิตพลังงานได้คุ้มค่าจำเป็นต้องมีปริมาณขยะราว 200 ตันในคราวเดียวถึงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 500MW

แต่ ในความเป็นจริงขยะมีการกระจายตัว ทำให้สามารถรวบรวมได้เต็มที่ 20 ตัน แม้ว่าการผลิตพลังงานจากขยะจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 5 เท่า แต่เมื่อดูในภาพรวมแล้ว การลงทุนด้านพลังงานจากขยะยังเป็นการลงทุนที่สูงและผลที่ได้ก็ยังไม่คุ้มค่า กับการลงทุนอีกด้วย




สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ 043-362299 โทรสาร 043-362299
อีเมล emco1@kku.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น