9/10/2555

ยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มากเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะศักยภาพ และสถานภาพการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน
การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าวยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า ประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้นและเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริมและเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป




กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ติดต่อสอบถาม : Tel. 0-2223-2593-5 , 0-2222-4102-9
Fax. 0-2225-3785 Email : webmaster@dede.go.th

หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ (หมู่บ้านพลังงานทางเลือก)

หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ (หมู่บ้านพลังงานทางเลือก)
หมู่บ้านหนองมัง ต.โนนกลาง อ. สำโรง จ.อุบลราชธานี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านหนองมังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ตั้งมาประมาณ 100 ปี การประกอบอาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร โดยมีการ ทำนาเป็นหลัก และทำสวนเป็นอาชีพรอง รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ เช่นวัว ควาย และสุกร ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่มีความเป็นกรดสูงไม่เหมาะกับการเพาะปลูก จึงทำให้ผลผลิต จากการทำนาไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตาม ชุมชนนี้มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต โดยทำการเกษตรอินทรีย์แบบปลอดสารพิษ และมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนมีผู้นำชุมชนที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการเกษตรอินทรีย์แบบปลอดสารพิษ
ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ดำเนินโครงการการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างเสริมให้ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการศึกษาวิจัย โดยใช้เหตุและผลควบคู่กับการใช้ปัญญา ซึ่งสามารถสร้างความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมกับสังคมและสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากการพัฒนากระบวนการเรียนรู้บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน และการทำแผนชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือให้ชุมชนร่วมกันพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมียุทธศาสตร์เป้าหมาย 6 แผนหลัก ได้แก่ แผนเศรษฐกิจ แผนสิ่งแวดล้อมและพลังงาน แผนพัฒนากิจกรรมการผลิต แผนพัฒนาการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ แผนการศึกษา และแผนเสริมสร้างสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนในหมู่บ้านเพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนตามแบบสอบถามเศรษฐกิจและสังคมที่พัฒนาโดยโครงการ ฯ และได้ประมวลผลร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามเหตุและปัจจัย การเรียนรู้ในชุมชน เพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาในระดับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจะก่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่ชัดเจนและเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นต่อไป
สำหรับเทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชน ได้แก่ การแปรรูปรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า เทคโนโลยีการผลิตงาอินทรีย์แบบครบวงจร เป็นต้น




75/47 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2 333 3700 โทรสาร 0 2 333 3833 Call Center : 1313 อีเมล์ : webmaster@most.go.th , :

การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย


ประเทศไทยได้เริ่มมีการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 โดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิแพทย์อาสาฯ สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้นได้รวบรวมข้อมูลและทดลองนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2521 พร้อมกันนั้นได้มีนโยบายและแผนระดับชาติด้านเซลล์แสงอาทิตย์ บรรจุลงในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) และมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และใช้งานในปลายปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) โดยมีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมโยธาธิการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานหลัก จนถึงปี พ.ศ. 2540 มีหน่วยงานต่างๆ ได้ติดตั้งและ ใช้งานในลักษณะต่างๆ รวมกันแล้วประมาณ 3,734 กิโลวัตต์ ในปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้พัฒนาการใช้งานในลักษณะของการสาธิตเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าร่วมกับพลังงานชนิดอื่นๆ เช่น ร่วมกับพลังน้ำ พลังงานลม กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นจะเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งสามารถสรุปกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ดังนี้




Copyright © 2009 --- Webdesign aus Tirol - All Rights Reserved.
Template Demo Joomla 1.5 Template by pc-didi..

ทิศทางธุรกิจพลังงานทดแทน 2555

ใน ปีแห่งความสุข 2555 พลังงานก็ยังคงเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะพลังงานทดแทนที่ดูเหมือนจะเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากการพยายามแนะนำเรื่องของพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐรวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน จนในปีที่ผ่านมาธุรกิจในด้านพลังงานทดแทนมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น และในปีนี้เรามาดูกันว่า พลังงานทดแทนชนิดใดที่มีแนวโน้ม ในการทำธุรกิจที่สดใส

เมื่อ เดือนที่ผ่านมามีการจัดสัมมนาในหัวข้อ “พลังงานทดแทนธุรกิจที่น่าลงทุน” ในงาน Innomart Technomart 2012 โดยเป็นความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรด้านพลังงานหลายท่าน โดยหัวข้อสัมมนาดังกล่าวจะชี้ให้เห็นเทรนด์ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนที่มีแนว โน้มและโอกาสให้ผลกำไรสูงสุด

พลังงานลมและแสงอาทิตย์
กล่าว ได้ว่าพลังงานทั้งลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจอย่างมากในปีที่ผ่าน มา เนื่องจากการกระตุ้นธุรกิจจากภาครัฐด้วยการอุดหนุนราคาส่วนต่างรับซื้อไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า Adder ซึ่งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มที่ได้รับเงินส่วนต่างสูง อันดับต้นของจำนวนพลังงานทดแทนหลายชนิดจากภาครัฐ ส่งผลให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างมากมาย

ภาค รัฐจึงได้ปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี โดยเพิ่มเพดานการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 500MW เปลี่ยนเป็น 2,000MW และพลังงานลมจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 800MW เปลี่ยนเป็น 1,200MW ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนยอดฮิตทั้ง 2 ชนิดนี้

พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ
พลังงาน จากชีวมวลและก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานอีก 2 ชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมาเช่นกัน เนื่องจากสามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ง่ายจากภายในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนการเกษตรโดยใช้แกลบชานอ้อย เป็นต้น ทำให้มีการปลูกไม้โตเร็วเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตที่มากเกินไป ภาครัฐจึงมีการปรับแผนจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3,700MW ลดลงเหลือ 3,630MW

ขณะ ที่ก๊าซชีวภาพเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากการหาวัตถุดิบที่ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตมาจากขยะและยังเป็นการช่วยปัญหาด้านขยะลงอีกด้วย อีกทั้งกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนและยังมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีอีกด้วย การลงทุนก็ไม่สูงมาก ภาครัฐจึงปรับเพิ่มจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 120MW ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 600MW

แปลงขยะให้กลายเป็นพลังงาน
นอก จากการเปลี่ยนสภาพให้ขยะกลายเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพแล้วขยะยังสามารถนำมาผลิต พลังงานได้โดยตรงอีกด้วย โดยภาครัฐยังกำหนดไว้ตามแผนเดิมคือ 160MW ซึ่งขยะที่นี้หมายถึงขยะกลุ่มที่ไม่ใช่ขยะจากธรรมชาติ แต่เป็นกลุ่มขยะจากการสังเคราะห์เช่น พลาสติก เป็นต้น โดยรัฐบาลพยายามผลักดันให้มีการผลิตพลังงานจากขยะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมี ปริมาณขยะโดยเฉลี่ย 40,000 ตันต่อวัน ปริมาณดังกล่าวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ราว 500MW

ขยะ พลาสติกก็สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันได้ โดยการสังเคราะห์สารสกัดปิโตรเลียมที่อยู่ในพลาสติก ซึ่งน้ำมันที่ได้สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในอุตสาหกรรมได้ และหากต้องการความบริสุทธิ์ก็ยังมีขั้นตอนและกระบวนการที่ช่วยให้น้ำมันที่ สังเคราะห์ที่ได้จากขยะสามารถใช้กับเครื่องยนต์รถยนต์ดีเซลทั่วไปด้วย โดยรัฐบาลมีการประกันราคารับซื้อน้ำมันดังกล่าวจากผู้ผลิตรายย่อยอีกด้วย

เอทานอลและไบโอดีเซล
เป็น ที่ทราบกันดีว่าน้ำมันที่ใช้ในรถยนต์ปัจจุบันเริ่มมีการผสมเชื้อเพลิงอื่น เข้าไปในสัดส่วนที่แตกต่างกันทั้งในกลุ่มน้ำมันเบนซิน เช่น แก๊สโซฮอล์ E10-E85 และกลุ่มน้ำมันดีเซลหรือที่เรียกกันว่าไบโอดีเซลซึ่งเป็นการผสมสารเอทานอลลง ไปในน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเอทานอลได้จากผลผลิตทางธรรมชาติไม่ว่าอ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น โดยปัจจุบันเอทานอลที่ได้สกัดจากกากน้ำตาลหรือโมลาส

ส่วน ไบโอดีเซลก็สามารถผลิตได้จากผลปาล์ม ซึ่งปลูกมากทางภาคใต้นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้ไบโอดีเซลมี ความบริสุทธิ์มากขึ้น

งาน นี้ขอ เคาะโต๊ะ เลยว่า พลังงานทดแทนที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนสามารถลงทุนได้ผลกำไรทั้งสิ้น แต่ต้องบอกว่ากลุ่มเอทานอลและไบโอดีเซลน่าลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังสามารถเติบโตขึ้นได้อีกในแง่ของปริมาณการใช้ เช่น เอทานอลที่ในปัจจุบันหากผลิตเต็มกำลังจะสามารถผลิตได้ประมาณ 5 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ปริมาณการใช้จริงอยู่ที่ราว 1 ล้านลิตรต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ขณะ ที่ไบโอดีเซลมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก เนื่องจากไบโอดีเซลสามารถผลิตได้จากหลายรูปแบบไม่ได้จำกัดเพียงปาล์มเท่า นั้น ซึ่งสืบเนื่องมาจากวิกฤติปาล์มขาดตลาดในปลายปี 2553 ทำให้มีการคิดค้นวิธีผลิตไบโอดีเซลไม่ว่าจะเป็นการผลิตจากผลสบู่ดำ, การใส่สารเติมแต่งจนได้น้ำมัน ED95, การผลิตน้ำมันดีโซฮอล์, การผลิตน้ำมัน BHD เป็นต้น ส่งผลให้การลงทุนในธุรกิจด้านนี้น่าสนใจมากที่สุด

ขณะ ที่กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์และลมมีการลงทุนค่อนข้างมากประกอบกับต้นทุนวัตถุ ดิบที่ถูกลง เมื่อความต้องการขาย (Supply) มากกว่าความต้องการซื้อ (Demand) จะส่งผลให้ต้องลดกำไรลงเพื่อแย่งชิงการขายพลังงานและนั่นจะทำให้ระยะเวลาคืน ทุนยาวนานออกไปอีกด้วย

ส่วน พลังงานจากชีวมวลจำเป็นต้องมีการลงทุนสูง เนื่องจากในอนาคตจำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านของการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มปริมาณในการผลิต เพราะการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรจะขึ้นอยู่กับรอบของการผลิต ส่วนพลังงานก๊าซชีวภาพและพลังงานจากขยะ จะมีปัญหาใกล้เคียงกันคือเรื่องของปริมาณ เนื่องจากสามารถผลิตพลังงานได้คุ้มค่าจำเป็นต้องมีปริมาณขยะราว 200 ตันในคราวเดียวถึงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 500MW

แต่ ในความเป็นจริงขยะมีการกระจายตัว ทำให้สามารถรวบรวมได้เต็มที่ 20 ตัน แม้ว่าการผลิตพลังงานจากขยะจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 5 เท่า แต่เมื่อดูในภาพรวมแล้ว การลงทุนด้านพลังงานจากขยะยังเป็นการลงทุนที่สูงและผลที่ได้ก็ยังไม่คุ้มค่า กับการลงทุนอีกด้วย




สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ 043-362299 โทรสาร 043-362299
อีเมล emco1@kku.ac.th

9/09/2555

LNG (Liquefied Natural Gas) หรือก๊าซธรรมชาติเหลว

LNG (Liquefied Natural Gas) หรือก๊าซธรรมชาติเหลว คือ ก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการลดอุณหภูมิ ให้กลายเป็นของเหลวที่ -161.5 องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศ หลังจากนั้นจึงถูกบรรจุลงถังเพื่อขนถ่ายทางเรือไปยังแหล่งที่มีความต้องการใช้ ซึ่งก๊าซธรรมชาติเหลว จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการเพิ่มความร้อนอีกครั้ง เพื่อทำให้กลับมีสถานะเป็นก๊าซดังเดิม

เพิ่มเติมสำหรับ LNG
LNG สามารถทำให้เกิด/ผลิตขึ้นได้ โดยขบวนการทำให้ก๊าซธรรมชาติที่ได้จากการผลิตจากหลุมผลิตปิโตรเลียม มาผ่านขบวนการแปรรูป (processing) โดยการแยกเอาสารประกอบต่างๆ ออกไป เข่น ก๊าซฮีเลียม และสารประกอบที่ไม่บริสุทธิ์ต่างๆ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการทำอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (down stream) อื่นๆ เช่น น้ำ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหนักต่างๆ ออกไป


การควบแน่นให้เป็นของเหลวนั้นทำในระดับความดันของชั้นบรรยากาศปกติ (atmospheric pressure) ในขณะที่ค่าความดันที่กำหนด ในการขนส่ง LNG ตามปกติ นั้น (maximum transport pressure) ค่าความดันของก๊าซจะอยู่ที่ ประมาณ 25 kPa การควบแน่นทำได้โดยการลดอุณหภูมิก๊าซธรรมชาติลงให้เป็น -163 องศาเซลเซีบส


การขนส่งก๊าซนี้สามารถส่งด้วยเรือ และรถบรรทุกที่มีการออกแบบมาเป็นพิเศษ/โดยเฉพาะ (cryogenic sea vessel and cryogenic road tanker) เมื่อขนส่งมาถึงคลังเก็บก๊าซก็ต้องเก็บรักษาไว้ในถังเก็บที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย/สะดวก


LNG มีปริมาตรประมาณ 1/614 เท่า ของปริมาตรของก๊าซธรรมชาติ ที่อุณหภูมิ และความดันตามมาตรฐาน (standard temperature and pressure, STP)


คุณสมบัติทั่วไปของ LNG


LNG สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ดีได้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล เพราะ LNG ก่อให้เกิดมีมลพิษที่น้อยกว่าน้ำมันทั้งชนิดนั้น แต่ค่าการผลิต และการที่ต้องเก็บรักษาอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษนั้น ทำให้มันมีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ด้อยลงไป


ค่าความหนาแน่น ประมาณ 0.41-0.5 กิโลกรัม/ลิตร ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ค่าความดัน และองค์ประกอบ (compositions) ในขณะที่ค่าความหนาแน่นของน้ำนั้น อยู่ที่ 1.0 กิโลกรัม/ลิตร


ค่าความร้อน ไม่มีความแน่นอน เพราะมันเกิดจากก๊าซธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของส่วนผสมที่มีแตกต่างกันมากมาย ทำให้ค่าความร้อนของมัน ขึ้นอยู่กับว่ามันถูกแปรรูปมาจากก๊าซธรรมชาติชนิด/แบบใด


ค่าความร้อนที่ประมาณว่าสูงที่สุด คือ 24 เมกะจูล/ลิตร ที่อุณหภูมิ -164 องศาเซลเซียส


ในขณะที่ค่าความร้อนที่ต่ำที่สุด คือ ประมาณ 21 เมกะจูล/ลิตร


ก๊าซธรรมชาติที่ส่งเข้าไปทำการแปรรูปในโรงงานแปรรูปเป็น LNG นั้น จะถูกทำให้มีการแยกเอาสิ่งต่างๆ เช่น น้ำ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และสารประกอบอื่นใดที่สามารแข็งตัว (freeze) ได้ เช่น benzene ออกไป


LNG ส่วนใหญ่ที่ทำการแปรรูปแล้วจะมีก๊าซมีเทน (methane) อยู่เกินกว่า 90 % ขึ้นไป โดยมี ethane, propane, butane และ alkane ที่มีความหนัก ปนอยู่บ้างจำนวนเล็กน้อย


ในขบวนการแปรรูปให้ได้ LNG ที่มีความบริสุทธิ์สูงนั้น ค่าของมีเทน ควรจะเป็น 100% เต็ม


ในทางการค้า/พาณิชย์ นั้น LNG ถูกขนส่งทางเรือเดินสมุทรที่เดินทางไปได้ทั่วโลก


หมายเหตุ LPG (Liquid petroleum gas) หรือที่บางทีเรียกกันว่า โพรเพน (propane) นั้น มักจะสร้างความสับสนระหว่าง คำว่า LNG กับ LPG ได้


โดย LPG นั้น เก็บในภาชนะบรรจุ/ถังในรูปของของเหลว โดยใช้ความดันเพียงอย่างเดียว อย่างที่เราเห็นกันในถังก๊าซท้ายยานพาหนะต่างๆ ทั่วไป ที่วิ่งกันบนท้องถนน รวมทั้งก๊าซหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป ที่มีขนาดบรรจุถังน้ำหนัก 5-15-50 กก.ตามลำดับ

ที่มา:วลัย ตะเวทิพงศ์ แปล และเรียบเรียง จาก http://en.wikipedia.org/wiki/LNG



ทำไมจึงต้องหาพลังงานทดแทน

จากปัญหาเรื่องน้ำมันในตลาดโลกมีราคาแพงและประเทศไทยต้องเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมัน ประกอบกับอัตราการใช้น้ำมันของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ความต้องการน้ำมันดีเซลเป็นปริมาณ 9,928 ล้านลิตร ในปี พ.ศ. 2533 และเพิ่มเป็น 18,273 ล้านลิตร ในปี พ.ศ. 2547 หรือเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี การส่งเสริมและสนับสนุนใช้น้ำมันพืชซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองในประเทศมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน เป็นการรักษาเงินตราต่างประเทศ สร้างความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของประเทศ อีกทั้งยังช่วยสร้างตลาดที่มั่นคงให้กับผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

การใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลไม่ใช่ของใหม่ มีการใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยน้ำมันจากปิโตรเลียมยังมีราคาถูกและหาได้ง่าย ทำให้น้ำมันพืชไม่ได้รับความสนใจในการใช้แทนน้ำมันดีเซล หลังจากวิกฤตน้ำมันของโลกในปี พ.ศ. 2514 หรือ ค.ศ. 1971 เป็นต้นมา ได้เริ่มมีความตื่นตัว และความพยายามหาพลังงานทดแทนมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น น้ำมันพืชเป็นพลังงานหมุนเวียนชนิดหนึ่งที่ได้รับการสนใจ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซลอีกครั้ง ในต่างประเทศ มีการนำน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันใช้แล้ว มาใช้ทดลองเดินเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับประเทศไทยได้เคยมีงานวิจัยในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดยทดลองใช้น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดสบู่ดำ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม รวมถึงเอสเตอร์ของน้ำมันปาล์ม เป็นพลังงานทดแทนในเครื่องยนต์ดีเซล เมื่อวิกฤตน้ำมันผ่านไป ความสนใจในการวิจัยค้นหา และศึกษาความเหมาะสมในการใช้พลังงานทดแทนจากน้ำมันพืชก็ลดน้อยลง รวมถึงไม่มีการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลการใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลของประเทศมีจำกัด จนถึงเมื่อมีวิกฤตน้ำมันแพงอีกครั้งเมื่อกลางปี พ.ศ. 2547 ราคาน้ำมันดิบถีบตัวขึ้นสูงถึง 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงไป ทำให้มีการพูดถึงการนำน้ำมันพืชมาใช้เป็นพลังงานทดแทนกันมากขึ้น

ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์พัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายจะส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเพิ่มจากวันละ 2.4 ล้านลิตร ในปี พ.ศ. 2554 เป็น วันละ 8.5 ล้านลิตรในปี พ.ศ. 2555 โดยจะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดพื้นที่ปลูก จัดหาพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และถ่ายทอดการบริหารจัดการปลูกปาล์ม ตลอดจนการพัฒนาพืชน้ำมันอื่นสำหรับในพื้นที่ไม่เหมาะสมจะปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้เรื่องพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ



ไบโอดีเซล: เชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนน้ำมันดีเซล

สำนักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน



© Copyright 2007 Ministry of Energy
ติดต่อสอบถาม ที่ pr@energy.go.th

พลังงานทดแทนจากขยะภายในบ้าน

ทุกวันนี้สังคมไทยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งอุปโภคบริโภค และด้านอื่นๆ จนก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยที่มีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การซื้อของใช้ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ ทำให้เกิดขยะมูลฝอย ประเภทขยะแห้ง อย่างใบเสร็จรับเงิน หรือการกินนอกบ้านทำให้เกิดขยะเปียกจากเศษอาหาร เป็นต้น


รูปภาพประกอบ ประเภทที่มาของประเภท และแหล่งที่มาของขยะ (ที่มา : www.thaienergydata.in.th)


หากไม่มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ขยะจะมีสัดส่วนที่มากขึ้นและปี 2558 จะมีปริมาณขยะต่อวันถึง 49,680 ตัน หรือ 17.8 ล้านตัน
(ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/พลังงานทดแทน)


พลังงานจากขยะคืออะไร
พลังงานที่ได้จากขยะของบ้านเรือนหรือกิจการต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ เป็นต้น สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้

รูปภาพประกอบ การนำขยะมาใช้ใหม่ของประเทศไทย (ที่มา : www.thaienergydata.in.th)


ในประเทศไทยมี บริษัท โรงไฟฟ้าแม่สอด จำกัด ที่เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง โดยนำขยะมาเผาบนตะแกรง เพื่อให้ได้ความร้อนที่เกิดขึ้นใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปเพิ่มแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


“ พลังงานขยะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาด เทคโนโลยีที่เหมาะสม ”


เทคโนโลยีพลังงานขยะ


ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยนำขยะมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ทั้งเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดมากขึ้นในทุกวัน พลังงานทดแทนจากขยะ ที่ได้ออกมาจะอยู่ในรูปของความร้อน ไฟฟ้า เชื้อเพลิง เป็นหลักขยะสามารถนำมาผลิตพลังงานได้ เช่น ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill gas) การผลิตความร้อนและกระแสไฟฟ้าจากการเผา (Incineration) ก๊าซชีวภาพจากการหมัก (Anaerobic Fermentation) เชื้อเพลิงขยะอัดก้อน (Refuse-Derived Fuel, RDF) และกระบวนการ Gasification & Ash Melting ซึ่ง เทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะในรายงานที่จัดทำขึ้นนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้


1.เทคโนโลยีผลิตพลังงานจากขยะโดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (Bio-chemical Conversion ) ได้แก่
เทคโนโลยีย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน การผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ
(Landfill Gas to Energy)

2.เทคโนโลยีผลิตพลังงานจากขยะโดยกระบวนการทางเคมีความร้อน (Thermo-chemical Conversion) ได้แก่
เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ (MSW Gasification) การแปรรูปขยะมูลฝอยไปเป็นพลังงานความร้อนโดยใช้เตาเผา
(Incineration) ขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง


ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีก็สามารถแปรรูปพลังงานออกมาต่างกัน ซึ่งหากสรุปพลังงานที่ได้ออกมาโดยรวมแล้วจะได้ พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า และพลังงานในรูปเชื้อเพลิง ดังนั้นการแยกขยะจากชุมชน บ้านเรือน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ประเทศไทยลดขยะที่มีอยู่ได้อย่างมาก และช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

“ หากทุกคนช่วยคัดแยกขยะภายในบ้านของตนเอง จะทำให้ได้พลังงานทดแทนที่มากขึ้นมากตามไปด้วย ”



ลิขสิทธิ์ © 2555 การจัดการความรู้สิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
Joomla! เป็นซอฟท์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU/GPL License.
เว็บนี้ขับเคลื่อนด้วย จูมล่าลายไทย

ความหวังพลังงานทดแทนในอีก10ปีข้างหน้า

ภาวะ "ทุกอย่างสูง" กำลังคืบคลานเข้ามาสู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่องทั้ง ค่าแรงขั้นต่ำสูง และค่าครองชีพสูง ค่าพลังงานสูง อย่างที่ทราบและตระหนักกันดีว่าประเทศไทยเราบริโภคพลังงานค่อนข้างจะเกินตัวเอามากๆทีเดียว

และที่สำคัญคือต้องนำเข้ากว่า 80% ซึ่งถือได้ว่ามีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยด้านพลังงานของประเทศสูงมาก เพราะเสมือนหนึ่งต้องพึ่งจมูกคนอื่นหายใจ
จากข้อมูลการนำเข้าพลังงานของประเทศในปี 2554 มีดังต่อไปนี้ครับ นำเข้าไฟฟ้ามูลค่า 12,000 ล้านบาท นำเข้าถ่านหินมูลค่า 40,000 ล้านบาท นำเข้าก๊าซธรรมชาติมูลค่า 136,000 ล้านบาท นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมูลค่า 10,000 ล้านบาท และนำเข้าน้ำมันดิบมูลค่า 927,000 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จมีมูลค่าการนำเข้าพลังงานทั้งสิ้นในรอบปี 1,1225,000 ล้านบาท จากตัวเลขดังกล่าวสามารถกล่าวได้ว่าความปลอดภัยด้านพลังงานของประเทศคงต้องฝากไว้กับพวกเราละครับว่า จะลดการใช้พลังงานนำเข้าได้มากน้อยเพียงใด และที่สำคัญที่สุดคือเราสามารถหาพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน ที่สามารถผลิตจากภายในประเทศได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้มาซึ่งพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาจากภูมิปัญญาไทย เพราะพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนบางชนิดต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้นทุนการผลิตต่อหน่วยอาจไม่แตกต่างกัน แต่ราคาขายในท้องตลาดของแต่ละประเทศ จะเป็นไปตามภาวะค่าครองชีพ ซึ่งย่อมผูกไปกับรายได้ของผู้คน จึงเป็นไปได้ยากที่ประเทศเราจะประสบความสำเร็จในการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีนำเข้าดังกล่าว
หากพิจารณาแนวนโยบายของรัฐบาลโดยผ่านหน่ายงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลด้านพลังงานคือกระทรวงพลังงานแล้ว ก็จะพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตะหนักถึงปัญหาของพลังงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงได้วาดฝันในการหาพลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยทำแผนการเสาะหาพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนไว้ เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าดังต่อไปนี้ครับ จากพลังงานรูปแบบใหม่ เช่น คลื่นในทะเล ให้ได้ประมาณ 2 เมกะวัตต์ จากความร้อนใต้พิภพประมาณ 1 เมกะวัตต์ พลังงานจากแสงอาทิตย์ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ พลังงานจากลมประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ พลังงานจากน้ำประมาณ 1,508 เมกะวัตต์ พลังงานชีวภาพที่ได้จากหลายแหล่งได้แก่ พลังงานชีวมวลประมาณ 3,630 เมกกะวัตต์ จากก๊าซชีวภาพประมาณ 500 เมกะวัตต์ จากขยะชุมชนและเมืองประมาณ 160 - 4,300 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังได้คาดการณ์ว่าจะต้องผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล ที่ผลิตจากอ้อยและมันสำปะหลัง จำนวน 9 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากปาล์มน้ำมัน จำนวน 5.97 ล้านลิตรต่อวัน รวมถึงการหวังที่จะผลิตเชื้อเพลิงใหม่แทนดีเซล จากสาหร่ายและสบู่ดำ ให้ได้ประมาณ 25 ล้านลิตรต่อวัน (เป็นไปได้หรือไม่ก็ช่วยวิเคราะห์ด้วยนะครับ)
ข้อมูลที่เป็นแนวคิดและทิศทางการให้ได้มาซึ่งพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนของประเทศในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า (ปี 2564) คงเป็นไปได้หากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือในการทำการดำเนินการตามแผนการอย่างจริงจัง ไม่ใช่พอน้ำมันแพงก็มาเร่งกระตุ้นกันที แต่พอน้ำมันถูกลง การสนับสนุนโครงการพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนก็ถูกละเลย และถอนการสนับสนุนการดำเนินการโครงการต่างๆอย่างสิ้นเชิง ดังเห็นตัวอย่างของการส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลจากสบู่ดำที่ฮือฮามากเมื่อประมาณ 9 ปีที่แล้ว และทราบว่าจะนำโครงการนี้มาปัดฝุ่นอีกครั้ง เมื่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น และปาล์มน้ำมันอาจถูกต่อต้านและกีดกันทางการค้าเพราะถือว่าปาล์มน้ำมันเป็นอาหารของมวลมนุษยชาติ ที่ไม่เหมาะในการนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนครับ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,734 26-28 เมษายน พ.ศ. 2555

เกาะพะลวย : Green Island ของประเทศไทย



หากเอ่ยชื่อ “เกาะพะลวย” ในเวลานี้ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงเกาะที่มีการใช้พลังงานสะอาด จากการบุกเบิกของกระทรวงพลังงานที่ปั้นแต่งให้เกาะสวรรค์แห่งนี้เป็น “Green Island” แห่งประเทศไทย

บ้านเกาะพะลวย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 ของ ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากเกาะวัวตาหลับ ซึ่งบางส่วนของเกาะอยู่ใน เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ประมาณครึ่งเกาะ เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2523 กรมอุทยาน ได้ประกาศหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นแห่งที่ 21 ของประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยเกาะแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี หรือตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอ.เกาะสมุย อยู่ห่างจากเกาะสมุยประมาณ 20 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากอำเภอดอนสักประมาณ 18 กิโลเมตร

ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้มาประมาณ 8 รุ่น โดยอพยพมาจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาว อ.เกาะสมุย อ.ดอนสัก อ.กาญจนดิษฐ์ อ.ท่าฉาง อ.ไชยา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี จ.ชุมพร จ.เพชรบุรี เป็นต้น มีครัวเรือน 102 ครัวเรือน ประชากร 438 คน นับถือศาสนาพุทธ มีสำนักสงฆ์ 2 แห่ง เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเกาะพะลวย

ลักษณะการประกอบอาชีพของชาวเกาะพะลวยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก หารังนกนางแอ่น ทำสวนยาง มีประมาณ 300 ไร่ ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และปศุสัตว์เลี้ยงโค ประมาณ 200 ตัว

จนกระทั่งกระทรวงพลังงานได้หยิบยกเกาะแห่งนี้ขึ้นมาเป็นต้นแบบการใช้พลังงานสะอาด จึงทำให้เกาะพะลวยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งรายละเอียดในการนำพลังงานสะอาดไปดำเนินการไว้บนเกาะ ประกอบไปด้วย โครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การสาธิตกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (1 กิโลวัตต์) โครงการพัฒนาสถานีบรรจุแบตเตอรี่มอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และศูนย์สาธิตอาหารทะเลตากแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

จากนั้นก็มีการติดตามความเคลื่อนไหวโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสครบรอบ 40 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทำการปลูกต้นโกงกาง จำนวน 6,000 ต้น บริเวณอ่าว 3 บนพื้นที่กว่า 120 ไร่ และในอนาคตมีแผนการปลูกต้นโกงกางให้ได้ทั้งหมดจำนวน 100,000 ต้นภายใน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลทางธรรมชาติของป่าไม้แบบยั่งยืน อันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่น สุดท้ายคณะติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ได้ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชนเกาะพะลวย เพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภคภายในชุมชนต่อไป

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้มอบ “อาคารสมเด็จย่า 2512” ศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด โรงเรียนบ้านเกาะพะลวย เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษา หาความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพะลวย พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์กีฬาและรองเท้านักเรียนให้เด็กนักเรียนไว้ใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย

ในการติดตามความคืบหน้าโครงการฯ นั้น แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของชุมชนในเรื่องการบริหารจัดการ และการดำเนินงานภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาพลังงาน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานได้วางไว้ ควบคู่กับการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

และด้วยความร่วมมือร่วมใจของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนบนเกาะพะลวยนี้เอง จะทำให้เกาะพะลวยเป็นต้นแบบเกาะพลังงานสะอาดอย่างสมบูรณ์แบบ โดยกระทรวงพลังงานตั้งเป้าจะพัฒนาเกาะพะลวยให้เป็นแบบอย่างหรือโมเดลแรก ในการนำไปพัฒนาพื้นที่แหล่งอื่นๆ ต่อไปในอนาคต


TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

อาเซียนจะไปถึงฝั่งฝันพลังงานทดแทน...หรือเป็นเพียงแค่ฝันกลางวัน



นับเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้วที่การใช้พลังงานและเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียเติบโตควบคู่กัน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลให้ยอดการใช้พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2538 ถึง 2550 เพิ่มขึ้นจากเดิม 3.6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ทั้งนี้ รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานอาเซียน หรือ (ASEAN Energy Outlook) ฉบับที่ 3 ได้คาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Total Final Energy Consumption) ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึง 2573 ว่า จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี หรือ จาก 375 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (MTOE) เป็น 1,018 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในกรณีที่ธุรกิจดำเนินไปตามปกติโดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Business-as-usual: BAU) และอัตราการเจริญเติบโตของจีดีพีในช่วงปีเดียวกันนี้ จะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี หรือเฉลี่ยร้อยละ 3.6 ต่อปี ทั้งนี้ แนวโน้มการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2573 จะอยู่ที่ 843 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในกรณีที่ธุรกิจดำเนินไปตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และอาเซียนไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ไทย และฟิลิปปินส์ ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณสูง กอปรกับภูมิภาคอาเซียนได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก จึงต้องอาศัยพลังงานจำนวนมากเพื่อเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายควรมุ่งความสนใจไปยังการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิง ซึ่งนับเป็นความท้าทายด้านนโยบายสำหรับรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน

จะว่าไปแล้วภูมิภาคอาเซียนมีแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์ทั้งในด้านปริมาณและความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ตลอดจนแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์มากนัก นอกจากนี้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน เป็นประเทศผู้ส่งออกนำมันดิบในภูมิภาค แต่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ยังคงต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดิบในสัดส่วนที่สูง ส่วนในเรื่องของพลังงานทดแทน ก็ต้องยอมรับว่ายังไม่มีการส่งเสริมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด อย่างจริงจัง เนื่องจากยังขาดเทคโนโลยีและเงินทุนสนับสนุน

จากข้อมูลข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อได้เปรียบด้านพลังงานที่ต่างกัน กล่าวคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนได้มากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิก โดยสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ถึง 26,500 เมกะวัตต์ ทำให้หลายคนมองสปป. ลาวว่ามีศักยภาพพอที่จะกลายเป็นฐานพลังงานสำหรับภูมิภาคเซียน เพราะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศ ด้านอินโดนีเซียมีปริมาณสำรองของพลังงานมากที่สุดในอาเซียนและมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีศักยภาพสูง ทว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ โดยเฉพาะบรูไน และสิงคโปร์ มีแหล่งพลังงานที่จำกัด แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสองประเทศนี้นับว่ารุดหน้าอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านพลังงานและราคาน้ำมันที่ผันผวน ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เร่งส่งเสริมการให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนกันมากขึ้น สังเกตได้จากการเน้นย้ำแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิชาการเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ตลอดจนพยายามลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้น ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ได้ออกนโยบายส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนที่คาดว่าจะก่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อน โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในขั้นสุดท้าย และเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเพื่อบรรลุเป้าหมายการผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกบางประเทศ เช่น ไทย เร่งผลักดันนโยบายเกี่ยวกับพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเป็นไปตามแผนพลังงานที่ชื่อว่า “แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 10 ปี” หรือ (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2012 - 2021) ซึ่งกำหนดให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มขึ้นจาก 7,413 กิโลตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (Kilo Ton Oil Equivalent: KTOE) ในปี พ.ศ. 2555 เป็น 25,000 กิโลตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในปี พ.ศ. 2564 หรือคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั้งหมด ด้านประฟิลิปปินส์ได้กำหนดแผนพลังงานที่มีชื่อว่า (Philippine Energy Plan: PEP 2004-2013) ซึ่งเน้นการพึ่งพาตัวเองเพื่อลดการพึ่งพิงพลังงานจากต่างประเทศ ตลอดจนเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประเทศมาเลเซียได้กำหนดแผนการที่มีชื่อว่า (Small Renewable Energy Power Programme: SREP) ซึ่งแผนการดังกล่าวนับเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะส่งเสริมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

จากภาพรวมทั้งหมด น่าจะพอเดาออกว่าโครงการเกี่ยวกับพลังงานทดแทนหลายๆโครงการยังอยู่ในขั้นตอนนำร่องที่ได้รับการช่วยเหลือทางด้านเงินทุนจากหน่วยงานระหว่างประเทศ และความร่วมมือจากต่างประเทศ (Donor Countries) เป็นหลัก ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ มั่นใจว่าการบรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 15 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ของภูมิภาคอาเซียน ก็คงเป็นได้เพียงภาพในฝันที่ไม่มีทางเป็นจริงได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานมากให้มากขึ้น



TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

กะลามะพร้าวกับเมล็ดมะม่วงใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าได้จริงหรือ?



ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์ เป็นนักพฤกษศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเคนทักกี ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาและนักวิจัยท่านอื่นพยายามแสวงหาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงที่ประกรท้องถิ่นในประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ แรงจูงใจในการทำวิจัยเกิดจากการตระหนักถึงข้อมูลจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติระบุว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้น

ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์จึงได้เดินทางไปสำรวจทรัพยากรท้องถิ่นในประเทศอินโดนีเซีย พบว่ามีการทิ้งกะลามะพร้าวและเมล็ดมะม่วงโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งกะลามะพร้าวและเมล็ดมะม่วงเหล่านี้มีค่าความร้อนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหินคุณภาพต่ำถึงปานกลาง เนื่องจากมะพร้าวและมะม่วงมีการสะสมพลังงานในรูปแบบของพลังงานเคมีเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับโอลีฟ ลูกพีช เชอร์รี่ อัลมอนด์ และวอลนัท

ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์ กล่าวว่าบริษัท ฮัสก์ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ ได้มอบเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากแกลบผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับชุมชน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า แก๊สซิฟิเคชัน (Gasification) ซึ่งเป็นการแปลงสภาพอินทรียวัตถุให้เป็นแก๊ส ด้วยการเผาอินทรียวัตถุในเตาเผา ซึ่งจะให้แก๊สต่างๆ โดยแก๊สเหล่านี้สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส (Gas Turbine Electric Power) อนึ่ง ชุมชนเหล่านี้มีปริมาณวัตถุดิบพอที่จะช่วยยกระดับความยากจนด้านพลังงานจากการผลิตพลังงานไว้ใช้ในท้องถิ่น

นักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา โพรซีดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันนัล ออฟ ไซน์ (Proceedings of the National Academy of Science) โดยนักวิจัยระบุว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สสามารถรองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในประเทศอินโดนีเซียถึงร้อยละ 13 และประเทศในเขตร้อนสามารถใช้ประโยชน์จากของเสียจากการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งกะลามะพร้าว เมล็ดมะม่วง เปลือกหรือเมล็ดของผลไม้อื่นๆ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เหมือนกัน

กระนั้น ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์ กล่าวว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซไม่ใช่ทางออกพลังงานที่ดีนัก เนื่องจากยังมีปัญหาทางด้านเทคนิค โดยเฉพาะวิธีการที่ปลอดภัยในการจัดการกับก๊าซพิษที่เกิดจากการเผา และที่สำคัญโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สก็ยังคงต้องการเงินทุนอุดหนุนในการริเริ่มโครงการ


TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

พลังงานสะอาดจะเฉือนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้หรือไม่



ตามข้อมูลจากองค์การบริหารสมุทศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่จะกลายเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ในอีก 20 ปีข้างหน้า

แซนดี้ แมคโดนัลด์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยระบบโลก องค์การบริหารสมุทศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ กล่าวว่าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมสามารถสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แก่ 48 รัฐที่มีความต้องการใช้ไฟน้อยภายในปี พ.ศ. 2573 ส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็จะลดลงเหลือเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานที่เหลือจะมีที่มาจากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานนิวเคลียร์

โครงการดังกล่าวเป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลสภาพอากาศจำนวน 16 พันล้านชุด แผนโครงการคัดกรองสถานที่ที่ไม่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และกังหันลม มีอุทยานแห่งชาติและพื้นที่เขตเมืองเป็นต้น และได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่าพื้นที่ทางตอนกลางของสหรัฐฯ เหมาะสำหรับเป็นแหล่งพลังงานลม ส่วนพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ที่ปกคลุมด้วยทะเลทรายเป็นสถานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุด

แซนดี้ แมคโดนัลด์ กล่าวว่าโครงการดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้น และโครงการขององค์การบริหารสมุทศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ มีความคืบหน้ากว่าที่คาดไว้ โดยมีการพัฒนาแนวคิดการเชื่อมโยงโครงข่ายพลังงานทดแทนให้มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มทุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการสร้างสมดุลทั้งด้านการผลิตและกฎอุปสงค์ ยกตัวอย่างเช่น เดือนสิงหาคมนับได้ว่าเป็นเดือนที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในประเทศสหรัฐฯ เนื่องจากความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น ประกอบกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรัฐแอริโซนาลดลงเนื่องจากเป็นช่วงที่มีเมฆเป็นส่วนมาก แต่ทว่ารัฐแคลิฟอร์เนียกลับสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดี ฉะนั้นจึงควรมีการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง

ทั้งนี้ ประเทศเยอรมนีสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และเยอรมนีมีแนวคิดที่จะผลักดันให้เกิดการพึ่งพาพลังงานทดแทนเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2573 จากการสัมภาษณ์นายฮันส์ โจเซฟ เฟลล์ จากพรรคกรีน ประเทศเยอรมนี การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์อาจมีสัดส่วนอยู่ที่ 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพลังงานลมมีสัดส่วนอยู่ที่ 40 ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีการปรับสมดุลความผันแปรที่เกิดขึ้นกับแหล่งพลังงานดังกล่าวเนื่องจากปัจจัยทางสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง



TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

น้ำคือชีวิต…แล้วน้ำช่วยตอบโจทย์ความต้องการด้านพลังงานของเราได้ไหม

น้ำนับเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างไม่จำกัด แถมการเปลี่ยนพลังงานจลน์จากการไหลของน้ำให้เป็นกระแสไฟฟ้าก็ยังไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

เขื่อนขนาดเล็กที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณเทือกเขาพิเรนีส ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าแจกจ่ายไปยังบ้านเรือนกว่า 100 หลัง แถมยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำใต้ดิน (Subterranean River) ที่ไหลมาจากภูเขาลูกหนึ่ง เขื่อนนี้มีผลกระทบทางด้านมลทัศน์น้อยมาก กล่าวคือ บริเวณสันเขื่อนมีบรรยากาศร่มรื่นเขียวชอุ่มด้วยพรรณไม้ จะมีก็แต่โครงสร้างคอนกรีตในบางส่วน เช่น ท่อระบายน้ำคอนกรีต และทางเดินต่างระดับเท่านั้น

ทั้งนี้ พลังงานน้ำมีข้อดีที่สถานีผลิตกระแสไฟฟ้าสามารถหยุดพักและเดินเครื่องเพียงไม่กี่นาที ซึ่งต่างไปจากแหล่งพลังงานอื่นๆ นอกจากนี้ พลังงานน้ำยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีราคาถูก และเขื่อนที่สร้างขึ้นใหม่ในประเทศฝรั่งเศสเขื่อนนี้มีผลกระทบเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้น เขื่อนสามารถสร้างความเสียหายได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าเขื่อนหนึ่งในประเทศเวเนซุเอลาเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายชุมชน น้ำจากเขื่อนที่สร้างขึ้นใหม่เขื่อนนี้ไหลเข้าท่วมแหล่งประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ มีการใช้ประโยชน์จากเขื่อนที่มีศักยภาพส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นับเป็นชาติผู้นำชาติหนึ่งที่มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสวิสเซอร์แลนด์ต้องการแหล่งพลังงานทดแทนในการขับเคลื่อนประเทศมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์แนะว่าควรใช้พลังงานทดแทนจากหลายแหล่งเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงาน ทางที่ดีควรจะมีโครงข่ายไฟฟ้ารองรับกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์และกังหันลม เนื่องจากความยุ่งยากในการจัดเก็บกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแหล่งพลังงานทดแทนเหล่านี้ ซึ่งหากพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหรือลมพัดไม่แรง น้ำก็จะมีบทบาทแทน


TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com