9/10/2555

ยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มากเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะศักยภาพ และสถานภาพการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน
การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าวยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า ประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้นและเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริมและเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป




กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ติดต่อสอบถาม : Tel. 0-2223-2593-5 , 0-2222-4102-9
Fax. 0-2225-3785 Email : webmaster@dede.go.th

หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ (หมู่บ้านพลังงานทางเลือก)

หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ (หมู่บ้านพลังงานทางเลือก)
หมู่บ้านหนองมัง ต.โนนกลาง อ. สำโรง จ.อุบลราชธานี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านหนองมังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ตั้งมาประมาณ 100 ปี การประกอบอาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร โดยมีการ ทำนาเป็นหลัก และทำสวนเป็นอาชีพรอง รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ เช่นวัว ควาย และสุกร ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่มีความเป็นกรดสูงไม่เหมาะกับการเพาะปลูก จึงทำให้ผลผลิต จากการทำนาไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตาม ชุมชนนี้มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต โดยทำการเกษตรอินทรีย์แบบปลอดสารพิษ และมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนมีผู้นำชุมชนที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านการเกษตรอินทรีย์แบบปลอดสารพิษ
ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ดำเนินโครงการการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างเสริมให้ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการศึกษาวิจัย โดยใช้เหตุและผลควบคู่กับการใช้ปัญญา ซึ่งสามารถสร้างความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมกับสังคมและสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากการพัฒนากระบวนการเรียนรู้บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน และการทำแผนชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือให้ชุมชนร่วมกันพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยมียุทธศาสตร์เป้าหมาย 6 แผนหลัก ได้แก่ แผนเศรษฐกิจ แผนสิ่งแวดล้อมและพลังงาน แผนพัฒนากิจกรรมการผลิต แผนพัฒนาการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ แผนการศึกษา และแผนเสริมสร้างสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนในหมู่บ้านเพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนตามแบบสอบถามเศรษฐกิจและสังคมที่พัฒนาโดยโครงการ ฯ และได้ประมวลผลร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามเหตุและปัจจัย การเรียนรู้ในชุมชน เพื่อการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาในระดับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยจะก่อให้เกิดผลลัพธ์และผลกระทบที่ชัดเจนและเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่ชุมชนอื่นต่อไป
สำหรับเทคโนโลยีที่นำไปถ่ายทอดให้แก่ชุมชน ได้แก่ การแปรรูปรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า เทคโนโลยีการผลิตงาอินทรีย์แบบครบวงจร เป็นต้น




75/47 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2 333 3700 โทรสาร 0 2 333 3833 Call Center : 1313 อีเมล์ : webmaster@most.go.th , :

การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย


ประเทศไทยได้เริ่มมีการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 โดยหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิแพทย์อาสาฯ สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้นได้รวบรวมข้อมูลและทดลองนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2521 พร้อมกันนั้นได้มีนโยบายและแผนระดับชาติด้านเซลล์แสงอาทิตย์ บรรจุลงในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) และมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และใช้งานในปลายปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) โดยมีกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมโยธาธิการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานหลัก จนถึงปี พ.ศ. 2540 มีหน่วยงานต่างๆ ได้ติดตั้งและ ใช้งานในลักษณะต่างๆ รวมกันแล้วประมาณ 3,734 กิโลวัตต์ ในปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้พัฒนาการใช้งานในลักษณะของการสาธิตเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าร่วมกับพลังงานชนิดอื่นๆ เช่น ร่วมกับพลังน้ำ พลังงานลม กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นจะเชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งสามารถสรุปกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ดังนี้




Copyright © 2009 --- Webdesign aus Tirol - All Rights Reserved.
Template Demo Joomla 1.5 Template by pc-didi..

ทิศทางธุรกิจพลังงานทดแทน 2555

ใน ปีแห่งความสุข 2555 พลังงานก็ยังคงเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะพลังงานทดแทนที่ดูเหมือนจะเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากการพยายามแนะนำเรื่องของพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐรวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน จนในปีที่ผ่านมาธุรกิจในด้านพลังงานทดแทนมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น และในปีนี้เรามาดูกันว่า พลังงานทดแทนชนิดใดที่มีแนวโน้ม ในการทำธุรกิจที่สดใส

เมื่อ เดือนที่ผ่านมามีการจัดสัมมนาในหัวข้อ “พลังงานทดแทนธุรกิจที่น่าลงทุน” ในงาน Innomart Technomart 2012 โดยเป็นความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรด้านพลังงานหลายท่าน โดยหัวข้อสัมมนาดังกล่าวจะชี้ให้เห็นเทรนด์ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนที่มีแนว โน้มและโอกาสให้ผลกำไรสูงสุด

พลังงานลมและแสงอาทิตย์
กล่าว ได้ว่าพลังงานทั้งลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจอย่างมากในปีที่ผ่าน มา เนื่องจากการกระตุ้นธุรกิจจากภาครัฐด้วยการอุดหนุนราคาส่วนต่างรับซื้อไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า Adder ซึ่งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มที่ได้รับเงินส่วนต่างสูง อันดับต้นของจำนวนพลังงานทดแทนหลายชนิดจากภาครัฐ ส่งผลให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานทดแทนทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างมากมาย

ภาค รัฐจึงได้ปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี โดยเพิ่มเพดานการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 500MW เปลี่ยนเป็น 2,000MW และพลังงานลมจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 800MW เปลี่ยนเป็น 1,200MW ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนยอดฮิตทั้ง 2 ชนิดนี้

พลังงานชีวมวลและก๊าซชีวภาพ
พลังงาน จากชีวมวลและก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานอีก 2 ชนิดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปีที่ผ่านมาเช่นกัน เนื่องจากสามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ง่ายจากภายในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนการเกษตรโดยใช้แกลบชานอ้อย เป็นต้น ทำให้มีการปลูกไม้โตเร็วเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานชีวมวล ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตที่มากเกินไป ภาครัฐจึงมีการปรับแผนจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3,700MW ลดลงเหลือ 3,630MW

ขณะ ที่ก๊าซชีวภาพเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากการหาวัตถุดิบที่ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตมาจากขยะและยังเป็นการช่วยปัญหาด้านขยะลงอีกด้วย อีกทั้งกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อนและยังมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีอีกด้วย การลงทุนก็ไม่สูงมาก ภาครัฐจึงปรับเพิ่มจากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 120MW ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 600MW

แปลงขยะให้กลายเป็นพลังงาน
นอก จากการเปลี่ยนสภาพให้ขยะกลายเป็นพลังงานก๊าซชีวภาพแล้วขยะยังสามารถนำมาผลิต พลังงานได้โดยตรงอีกด้วย โดยภาครัฐยังกำหนดไว้ตามแผนเดิมคือ 160MW ซึ่งขยะที่นี้หมายถึงขยะกลุ่มที่ไม่ใช่ขยะจากธรรมชาติ แต่เป็นกลุ่มขยะจากการสังเคราะห์เช่น พลาสติก เป็นต้น โดยรัฐบาลพยายามผลักดันให้มีการผลิตพลังงานจากขยะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมี ปริมาณขยะโดยเฉลี่ย 40,000 ตันต่อวัน ปริมาณดังกล่าวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ราว 500MW

ขยะ พลาสติกก็สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันได้ โดยการสังเคราะห์สารสกัดปิโตรเลียมที่อยู่ในพลาสติก ซึ่งน้ำมันที่ได้สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลในอุตสาหกรรมได้ และหากต้องการความบริสุทธิ์ก็ยังมีขั้นตอนและกระบวนการที่ช่วยให้น้ำมันที่ สังเคราะห์ที่ได้จากขยะสามารถใช้กับเครื่องยนต์รถยนต์ดีเซลทั่วไปด้วย โดยรัฐบาลมีการประกันราคารับซื้อน้ำมันดังกล่าวจากผู้ผลิตรายย่อยอีกด้วย

เอทานอลและไบโอดีเซล
เป็น ที่ทราบกันดีว่าน้ำมันที่ใช้ในรถยนต์ปัจจุบันเริ่มมีการผสมเชื้อเพลิงอื่น เข้าไปในสัดส่วนที่แตกต่างกันทั้งในกลุ่มน้ำมันเบนซิน เช่น แก๊สโซฮอล์ E10-E85 และกลุ่มน้ำมันดีเซลหรือที่เรียกกันว่าไบโอดีเซลซึ่งเป็นการผสมสารเอทานอลลง ไปในน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเอทานอลได้จากผลผลิตทางธรรมชาติไม่ว่าอ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น โดยปัจจุบันเอทานอลที่ได้สกัดจากกากน้ำตาลหรือโมลาส

ส่วน ไบโอดีเซลก็สามารถผลิตได้จากผลปาล์ม ซึ่งปลูกมากทางภาคใต้นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้ไบโอดีเซลมี ความบริสุทธิ์มากขึ้น

งาน นี้ขอ เคาะโต๊ะ เลยว่า พลังงานทดแทนที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนสามารถลงทุนได้ผลกำไรทั้งสิ้น แต่ต้องบอกว่ากลุ่มเอทานอลและไบโอดีเซลน่าลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังสามารถเติบโตขึ้นได้อีกในแง่ของปริมาณการใช้ เช่น เอทานอลที่ในปัจจุบันหากผลิตเต็มกำลังจะสามารถผลิตได้ประมาณ 5 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่ปริมาณการใช้จริงอยู่ที่ราว 1 ล้านลิตรต่อวันและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ขณะ ที่ไบโอดีเซลมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก เนื่องจากไบโอดีเซลสามารถผลิตได้จากหลายรูปแบบไม่ได้จำกัดเพียงปาล์มเท่า นั้น ซึ่งสืบเนื่องมาจากวิกฤติปาล์มขาดตลาดในปลายปี 2553 ทำให้มีการคิดค้นวิธีผลิตไบโอดีเซลไม่ว่าจะเป็นการผลิตจากผลสบู่ดำ, การใส่สารเติมแต่งจนได้น้ำมัน ED95, การผลิตน้ำมันดีโซฮอล์, การผลิตน้ำมัน BHD เป็นต้น ส่งผลให้การลงทุนในธุรกิจด้านนี้น่าสนใจมากที่สุด

ขณะ ที่กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์และลมมีการลงทุนค่อนข้างมากประกอบกับต้นทุนวัตถุ ดิบที่ถูกลง เมื่อความต้องการขาย (Supply) มากกว่าความต้องการซื้อ (Demand) จะส่งผลให้ต้องลดกำไรลงเพื่อแย่งชิงการขายพลังงานและนั่นจะทำให้ระยะเวลาคืน ทุนยาวนานออกไปอีกด้วย

ส่วน พลังงานจากชีวมวลจำเป็นต้องมีการลงทุนสูง เนื่องจากในอนาคตจำเป็นต้องมีการลงทุนในด้านของการปลูกไม้โตเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มปริมาณในการผลิต เพราะการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรจะขึ้นอยู่กับรอบของการผลิต ส่วนพลังงานก๊าซชีวภาพและพลังงานจากขยะ จะมีปัญหาใกล้เคียงกันคือเรื่องของปริมาณ เนื่องจากสามารถผลิตพลังงานได้คุ้มค่าจำเป็นต้องมีปริมาณขยะราว 200 ตันในคราวเดียวถึงจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 500MW

แต่ ในความเป็นจริงขยะมีการกระจายตัว ทำให้สามารถรวบรวมได้เต็มที่ 20 ตัน แม้ว่าการผลิตพลังงานจากขยะจะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 5 เท่า แต่เมื่อดูในภาพรวมแล้ว การลงทุนด้านพลังงานจากขยะยังเป็นการลงทุนที่สูงและผลที่ได้ก็ยังไม่คุ้มค่า กับการลงทุนอีกด้วย




สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ 043-362299 โทรสาร 043-362299
อีเมล emco1@kku.ac.th

9/09/2555

LNG (Liquefied Natural Gas) หรือก๊าซธรรมชาติเหลว

LNG (Liquefied Natural Gas) หรือก๊าซธรรมชาติเหลว คือ ก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการลดอุณหภูมิ ให้กลายเป็นของเหลวที่ -161.5 องศาเซลเซียส ที่ความดันบรรยากาศ หลังจากนั้นจึงถูกบรรจุลงถังเพื่อขนถ่ายทางเรือไปยังแหล่งที่มีความต้องการใช้ ซึ่งก๊าซธรรมชาติเหลว จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการเพิ่มความร้อนอีกครั้ง เพื่อทำให้กลับมีสถานะเป็นก๊าซดังเดิม

เพิ่มเติมสำหรับ LNG
LNG สามารถทำให้เกิด/ผลิตขึ้นได้ โดยขบวนการทำให้ก๊าซธรรมชาติที่ได้จากการผลิตจากหลุมผลิตปิโตรเลียม มาผ่านขบวนการแปรรูป (processing) โดยการแยกเอาสารประกอบต่างๆ ออกไป เข่น ก๊าซฮีเลียม และสารประกอบที่ไม่บริสุทธิ์ต่างๆ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการทำอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (down stream) อื่นๆ เช่น น้ำ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหนักต่างๆ ออกไป


การควบแน่นให้เป็นของเหลวนั้นทำในระดับความดันของชั้นบรรยากาศปกติ (atmospheric pressure) ในขณะที่ค่าความดันที่กำหนด ในการขนส่ง LNG ตามปกติ นั้น (maximum transport pressure) ค่าความดันของก๊าซจะอยู่ที่ ประมาณ 25 kPa การควบแน่นทำได้โดยการลดอุณหภูมิก๊าซธรรมชาติลงให้เป็น -163 องศาเซลเซีบส


การขนส่งก๊าซนี้สามารถส่งด้วยเรือ และรถบรรทุกที่มีการออกแบบมาเป็นพิเศษ/โดยเฉพาะ (cryogenic sea vessel and cryogenic road tanker) เมื่อขนส่งมาถึงคลังเก็บก๊าซก็ต้องเก็บรักษาไว้ในถังเก็บที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย/สะดวก


LNG มีปริมาตรประมาณ 1/614 เท่า ของปริมาตรของก๊าซธรรมชาติ ที่อุณหภูมิ และความดันตามมาตรฐาน (standard temperature and pressure, STP)


คุณสมบัติทั่วไปของ LNG


LNG สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ดีได้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล เพราะ LNG ก่อให้เกิดมีมลพิษที่น้อยกว่าน้ำมันทั้งชนิดนั้น แต่ค่าการผลิต และการที่ต้องเก็บรักษาอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษนั้น ทำให้มันมีสมรรถนะเชิงพาณิชย์ด้อยลงไป


ค่าความหนาแน่น ประมาณ 0.41-0.5 กิโลกรัม/ลิตร ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ค่าความดัน และองค์ประกอบ (compositions) ในขณะที่ค่าความหนาแน่นของน้ำนั้น อยู่ที่ 1.0 กิโลกรัม/ลิตร


ค่าความร้อน ไม่มีความแน่นอน เพราะมันเกิดจากก๊าซธรรมชาติที่มีองค์ประกอบของส่วนผสมที่มีแตกต่างกันมากมาย ทำให้ค่าความร้อนของมัน ขึ้นอยู่กับว่ามันถูกแปรรูปมาจากก๊าซธรรมชาติชนิด/แบบใด


ค่าความร้อนที่ประมาณว่าสูงที่สุด คือ 24 เมกะจูล/ลิตร ที่อุณหภูมิ -164 องศาเซลเซียส


ในขณะที่ค่าความร้อนที่ต่ำที่สุด คือ ประมาณ 21 เมกะจูล/ลิตร


ก๊าซธรรมชาติที่ส่งเข้าไปทำการแปรรูปในโรงงานแปรรูปเป็น LNG นั้น จะถูกทำให้มีการแยกเอาสิ่งต่างๆ เช่น น้ำ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และสารประกอบอื่นใดที่สามารแข็งตัว (freeze) ได้ เช่น benzene ออกไป


LNG ส่วนใหญ่ที่ทำการแปรรูปแล้วจะมีก๊าซมีเทน (methane) อยู่เกินกว่า 90 % ขึ้นไป โดยมี ethane, propane, butane และ alkane ที่มีความหนัก ปนอยู่บ้างจำนวนเล็กน้อย


ในขบวนการแปรรูปให้ได้ LNG ที่มีความบริสุทธิ์สูงนั้น ค่าของมีเทน ควรจะเป็น 100% เต็ม


ในทางการค้า/พาณิชย์ นั้น LNG ถูกขนส่งทางเรือเดินสมุทรที่เดินทางไปได้ทั่วโลก


หมายเหตุ LPG (Liquid petroleum gas) หรือที่บางทีเรียกกันว่า โพรเพน (propane) นั้น มักจะสร้างความสับสนระหว่าง คำว่า LNG กับ LPG ได้


โดย LPG นั้น เก็บในภาชนะบรรจุ/ถังในรูปของของเหลว โดยใช้ความดันเพียงอย่างเดียว อย่างที่เราเห็นกันในถังก๊าซท้ายยานพาหนะต่างๆ ทั่วไป ที่วิ่งกันบนท้องถนน รวมทั้งก๊าซหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป ที่มีขนาดบรรจุถังน้ำหนัก 5-15-50 กก.ตามลำดับ

ที่มา:วลัย ตะเวทิพงศ์ แปล และเรียบเรียง จาก http://en.wikipedia.org/wiki/LNG



ทำไมจึงต้องหาพลังงานทดแทน

จากปัญหาเรื่องน้ำมันในตลาดโลกมีราคาแพงและประเทศไทยต้องเสียเงินตราต่างประเทศในการนำเข้าน้ำมัน ประกอบกับอัตราการใช้น้ำมันของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ความต้องการน้ำมันดีเซลเป็นปริมาณ 9,928 ล้านลิตร ในปี พ.ศ. 2533 และเพิ่มเป็น 18,273 ล้านลิตร ในปี พ.ศ. 2547 หรือเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี การส่งเสริมและสนับสนุนใช้น้ำมันพืชซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองในประเทศมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน เป็นการรักษาเงินตราต่างประเทศ สร้างความมั่นคงและสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของประเทศ อีกทั้งยังช่วยสร้างตลาดที่มั่นคงให้กับผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

การใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลไม่ใช่ของใหม่ มีการใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยน้ำมันจากปิโตรเลียมยังมีราคาถูกและหาได้ง่าย ทำให้น้ำมันพืชไม่ได้รับความสนใจในการใช้แทนน้ำมันดีเซล หลังจากวิกฤตน้ำมันของโลกในปี พ.ศ. 2514 หรือ ค.ศ. 1971 เป็นต้นมา ได้เริ่มมีความตื่นตัว และความพยายามหาพลังงานทดแทนมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น น้ำมันพืชเป็นพลังงานหมุนเวียนชนิดหนึ่งที่ได้รับการสนใจ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันดีเซลอีกครั้ง ในต่างประเทศ มีการนำน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน และน้ำมันใช้แล้ว มาใช้ทดลองเดินเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับประเทศไทยได้เคยมีงานวิจัยในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดยทดลองใช้น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดสบู่ดำ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม รวมถึงเอสเตอร์ของน้ำมันปาล์ม เป็นพลังงานทดแทนในเครื่องยนต์ดีเซล เมื่อวิกฤตน้ำมันผ่านไป ความสนใจในการวิจัยค้นหา และศึกษาความเหมาะสมในการใช้พลังงานทดแทนจากน้ำมันพืชก็ลดน้อยลง รวมถึงไม่มีการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลการใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลของประเทศมีจำกัด จนถึงเมื่อมีวิกฤตน้ำมันแพงอีกครั้งเมื่อกลางปี พ.ศ. 2547 ราคาน้ำมันดิบถีบตัวขึ้นสูงถึง 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงไป ทำให้มีการพูดถึงการนำน้ำมันพืชมาใช้เป็นพลังงานทดแทนกันมากขึ้น

ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์พัฒนาและส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 ทั้งนี้ได้กำหนดเป้าหมายจะส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเพิ่มจากวันละ 2.4 ล้านลิตร ในปี พ.ศ. 2554 เป็น วันละ 8.5 ล้านลิตรในปี พ.ศ. 2555 โดยจะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดพื้นที่ปลูก จัดหาพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และถ่ายทอดการบริหารจัดการปลูกปาล์ม ตลอดจนการพัฒนาพืชน้ำมันอื่นสำหรับในพื้นที่ไม่เหมาะสมจะปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้เรื่องพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ



ไบโอดีเซล: เชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนน้ำมันดีเซล

สำนักวิจัย ค้นคว้าพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน



© Copyright 2007 Ministry of Energy
ติดต่อสอบถาม ที่ pr@energy.go.th

พลังงานทดแทนจากขยะภายในบ้าน

ทุกวันนี้สังคมไทยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งอุปโภคบริโภค และด้านอื่นๆ จนก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยที่มีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การซื้อของใช้ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อ ทำให้เกิดขยะมูลฝอย ประเภทขยะแห้ง อย่างใบเสร็จรับเงิน หรือการกินนอกบ้านทำให้เกิดขยะเปียกจากเศษอาหาร เป็นต้น


รูปภาพประกอบ ประเภทที่มาของประเภท และแหล่งที่มาของขยะ (ที่มา : www.thaienergydata.in.th)


หากไม่มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์ ขยะจะมีสัดส่วนที่มากขึ้นและปี 2558 จะมีปริมาณขยะต่อวันถึง 49,680 ตัน หรือ 17.8 ล้านตัน
(ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/พลังงานทดแทน)


พลังงานจากขยะคืออะไร
พลังงานที่ได้จากขยะของบ้านเรือนหรือกิจการต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ เป็นต้น สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าที่ถูกออกแบบให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงได้

รูปภาพประกอบ การนำขยะมาใช้ใหม่ของประเทศไทย (ที่มา : www.thaienergydata.in.th)


ในประเทศไทยมี บริษัท โรงไฟฟ้าแม่สอด จำกัด ที่เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง โดยนำขยะมาเผาบนตะแกรง เพื่อให้ได้ความร้อนที่เกิดขึ้นใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปเพิ่มแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า


“ พลังงานขยะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาด เทคโนโลยีที่เหมาะสม ”


เทคโนโลยีพลังงานขยะ


ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยนำขยะมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ทั้งเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดมากขึ้นในทุกวัน พลังงานทดแทนจากขยะ ที่ได้ออกมาจะอยู่ในรูปของความร้อน ไฟฟ้า เชื้อเพลิง เป็นหลักขยะสามารถนำมาผลิตพลังงานได้ เช่น ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ (Landfill gas) การผลิตความร้อนและกระแสไฟฟ้าจากการเผา (Incineration) ก๊าซชีวภาพจากการหมัก (Anaerobic Fermentation) เชื้อเพลิงขยะอัดก้อน (Refuse-Derived Fuel, RDF) และกระบวนการ Gasification & Ash Melting ซึ่ง เทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะในรายงานที่จัดทำขึ้นนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้


1.เทคโนโลยีผลิตพลังงานจากขยะโดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (Bio-chemical Conversion ) ได้แก่
เทคโนโลยีย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน การผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยโดยใช้ก๊าซชีวภาพจากหลุมฝังกลบขยะ
(Landfill Gas to Energy)

2.เทคโนโลยีผลิตพลังงานจากขยะโดยกระบวนการทางเคมีความร้อน (Thermo-chemical Conversion) ได้แก่
เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ (MSW Gasification) การแปรรูปขยะมูลฝอยไปเป็นพลังงานความร้อนโดยใช้เตาเผา
(Incineration) ขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง


ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีก็สามารถแปรรูปพลังงานออกมาต่างกัน ซึ่งหากสรุปพลังงานที่ได้ออกมาโดยรวมแล้วจะได้ พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า และพลังงานในรูปเชื้อเพลิง ดังนั้นการแยกขยะจากชุมชน บ้านเรือน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ประเทศไทยลดขยะที่มีอยู่ได้อย่างมาก และช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

“ หากทุกคนช่วยคัดแยกขยะภายในบ้านของตนเอง จะทำให้ได้พลังงานทดแทนที่มากขึ้นมากตามไปด้วย ”



ลิขสิทธิ์ © 2555 การจัดการความรู้สิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
Joomla! เป็นซอฟท์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU/GPL License.
เว็บนี้ขับเคลื่อนด้วย จูมล่าลายไทย

ความหวังพลังงานทดแทนในอีก10ปีข้างหน้า

ภาวะ "ทุกอย่างสูง" กำลังคืบคลานเข้ามาสู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่องทั้ง ค่าแรงขั้นต่ำสูง และค่าครองชีพสูง ค่าพลังงานสูง อย่างที่ทราบและตระหนักกันดีว่าประเทศไทยเราบริโภคพลังงานค่อนข้างจะเกินตัวเอามากๆทีเดียว

และที่สำคัญคือต้องนำเข้ากว่า 80% ซึ่งถือได้ว่ามีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยด้านพลังงานของประเทศสูงมาก เพราะเสมือนหนึ่งต้องพึ่งจมูกคนอื่นหายใจ
จากข้อมูลการนำเข้าพลังงานของประเทศในปี 2554 มีดังต่อไปนี้ครับ นำเข้าไฟฟ้ามูลค่า 12,000 ล้านบาท นำเข้าถ่านหินมูลค่า 40,000 ล้านบาท นำเข้าก๊าซธรรมชาติมูลค่า 136,000 ล้านบาท นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมูลค่า 10,000 ล้านบาท และนำเข้าน้ำมันดิบมูลค่า 927,000 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จมีมูลค่าการนำเข้าพลังงานทั้งสิ้นในรอบปี 1,1225,000 ล้านบาท จากตัวเลขดังกล่าวสามารถกล่าวได้ว่าความปลอดภัยด้านพลังงานของประเทศคงต้องฝากไว้กับพวกเราละครับว่า จะลดการใช้พลังงานนำเข้าได้มากน้อยเพียงใด และที่สำคัญที่สุดคือเราสามารถหาพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน ที่สามารถผลิตจากภายในประเทศได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้มาซึ่งพลังงานที่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาจากภูมิปัญญาไทย เพราะพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนบางชนิดต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้นทุนการผลิตต่อหน่วยอาจไม่แตกต่างกัน แต่ราคาขายในท้องตลาดของแต่ละประเทศ จะเป็นไปตามภาวะค่าครองชีพ ซึ่งย่อมผูกไปกับรายได้ของผู้คน จึงเป็นไปได้ยากที่ประเทศเราจะประสบความสำเร็จในการใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีนำเข้าดังกล่าว
หากพิจารณาแนวนโยบายของรัฐบาลโดยผ่านหน่ายงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลด้านพลังงานคือกระทรวงพลังงานแล้ว ก็จะพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตะหนักถึงปัญหาของพลังงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงได้วาดฝันในการหาพลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยทำแผนการเสาะหาพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนไว้ เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าดังต่อไปนี้ครับ จากพลังงานรูปแบบใหม่ เช่น คลื่นในทะเล ให้ได้ประมาณ 2 เมกะวัตต์ จากความร้อนใต้พิภพประมาณ 1 เมกะวัตต์ พลังงานจากแสงอาทิตย์ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ พลังงานจากลมประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ พลังงานจากน้ำประมาณ 1,508 เมกะวัตต์ พลังงานชีวภาพที่ได้จากหลายแหล่งได้แก่ พลังงานชีวมวลประมาณ 3,630 เมกกะวัตต์ จากก๊าซชีวภาพประมาณ 500 เมกะวัตต์ จากขยะชุมชนและเมืองประมาณ 160 - 4,300 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังได้คาดการณ์ว่าจะต้องผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล ที่ผลิตจากอ้อยและมันสำปะหลัง จำนวน 9 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล ที่ผลิตจากปาล์มน้ำมัน จำนวน 5.97 ล้านลิตรต่อวัน รวมถึงการหวังที่จะผลิตเชื้อเพลิงใหม่แทนดีเซล จากสาหร่ายและสบู่ดำ ให้ได้ประมาณ 25 ล้านลิตรต่อวัน (เป็นไปได้หรือไม่ก็ช่วยวิเคราะห์ด้วยนะครับ)
ข้อมูลที่เป็นแนวคิดและทิศทางการให้ได้มาซึ่งพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนของประเทศในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า (ปี 2564) คงเป็นไปได้หากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือในการทำการดำเนินการตามแผนการอย่างจริงจัง ไม่ใช่พอน้ำมันแพงก็มาเร่งกระตุ้นกันที แต่พอน้ำมันถูกลง การสนับสนุนโครงการพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนก็ถูกละเลย และถอนการสนับสนุนการดำเนินการโครงการต่างๆอย่างสิ้นเชิง ดังเห็นตัวอย่างของการส่งเสริมการผลิตไบโอดีเซลจากสบู่ดำที่ฮือฮามากเมื่อประมาณ 9 ปีที่แล้ว และทราบว่าจะนำโครงการนี้มาปัดฝุ่นอีกครั้ง เมื่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น และปาล์มน้ำมันอาจถูกต่อต้านและกีดกันทางการค้าเพราะถือว่าปาล์มน้ำมันเป็นอาหารของมวลมนุษยชาติ ที่ไม่เหมาะในการนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนครับ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,734 26-28 เมษายน พ.ศ. 2555

เกาะพะลวย : Green Island ของประเทศไทย



หากเอ่ยชื่อ “เกาะพะลวย” ในเวลานี้ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงเกาะที่มีการใช้พลังงานสะอาด จากการบุกเบิกของกระทรวงพลังงานที่ปั้นแต่งให้เกาะสวรรค์แห่งนี้เป็น “Green Island” แห่งประเทศไทย

บ้านเกาะพะลวย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 ของ ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากเกาะวัวตาหลับ ซึ่งบางส่วนของเกาะอยู่ใน เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ประมาณครึ่งเกาะ เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2523 กรมอุทยาน ได้ประกาศหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นแห่งที่ 21 ของประเทศ ส่วนที่เหลือเป็นที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยเกาะแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี หรือตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอ.เกาะสมุย อยู่ห่างจากเกาะสมุยประมาณ 20 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากอำเภอดอนสักประมาณ 18 กิโลเมตร

ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้มาประมาณ 8 รุ่น โดยอพยพมาจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาว อ.เกาะสมุย อ.ดอนสัก อ.กาญจนดิษฐ์ อ.ท่าฉาง อ.ไชยา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี จ.ชุมพร จ.เพชรบุรี เป็นต้น มีครัวเรือน 102 ครัวเรือน ประชากร 438 คน นับถือศาสนาพุทธ มีสำนักสงฆ์ 2 แห่ง เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเกาะพะลวย

ลักษณะการประกอบอาชีพของชาวเกาะพะลวยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก หารังนกนางแอ่น ทำสวนยาง มีประมาณ 300 ไร่ ทำสวนมะพร้าว สวนผลไม้ และปศุสัตว์เลี้ยงโค ประมาณ 200 ตัว

จนกระทั่งกระทรวงพลังงานได้หยิบยกเกาะแห่งนี้ขึ้นมาเป็นต้นแบบการใช้พลังงานสะอาด จึงทำให้เกาะพะลวยได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ซึ่งรายละเอียดในการนำพลังงานสะอาดไปดำเนินการไว้บนเกาะ ประกอบไปด้วย โครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค การสาธิตกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (1 กิโลวัตต์) โครงการพัฒนาสถานีบรรจุแบตเตอรี่มอเตอร์ไซต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และศูนย์สาธิตอาหารทะเลตากแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

จากนั้นก็มีการติดตามความเคลื่อนไหวโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสครบรอบ 40 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทำการปลูกต้นโกงกาง จำนวน 6,000 ต้น บริเวณอ่าว 3 บนพื้นที่กว่า 120 ไร่ และในอนาคตมีแผนการปลูกต้นโกงกางให้ได้ทั้งหมดจำนวน 100,000 ต้นภายใน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลทางธรรมชาติของป่าไม้แบบยั่งยืน อันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่น สุดท้ายคณะติดตามความก้าวหน้าโครงการฯ ได้ร่วมสร้างฝายชะลอน้ำให้กับชุมชนเกาะพะลวย เพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภคภายในชุมชนต่อไป

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้มอบ “อาคารสมเด็จย่า 2512” ศูนย์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด โรงเรียนบ้านเกาะพะลวย เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษา หาความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะพะลวย พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์กีฬาและรองเท้านักเรียนให้เด็กนักเรียนไว้ใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย

ในการติดตามความคืบหน้าโครงการฯ นั้น แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของชุมชนในเรื่องการบริหารจัดการ และการดำเนินงานภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาพลังงาน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานได้วางไว้ ควบคู่กับการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

และด้วยความร่วมมือร่วมใจของภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนบนเกาะพะลวยนี้เอง จะทำให้เกาะพะลวยเป็นต้นแบบเกาะพลังงานสะอาดอย่างสมบูรณ์แบบ โดยกระทรวงพลังงานตั้งเป้าจะพัฒนาเกาะพะลวยให้เป็นแบบอย่างหรือโมเดลแรก ในการนำไปพัฒนาพื้นที่แหล่งอื่นๆ ต่อไปในอนาคต


TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

อาเซียนจะไปถึงฝั่งฝันพลังงานทดแทน...หรือเป็นเพียงแค่ฝันกลางวัน



นับเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้วที่การใช้พลังงานและเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียเติบโตควบคู่กัน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลให้ยอดการใช้พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2538 ถึง 2550 เพิ่มขึ้นจากเดิม 3.6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ทั้งนี้ รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานอาเซียน หรือ (ASEAN Energy Outlook) ฉบับที่ 3 ได้คาดการณ์แนวโน้มการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (Total Final Energy Consumption) ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึง 2573 ว่า จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี หรือ จาก 375 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (MTOE) เป็น 1,018 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในกรณีที่ธุรกิจดำเนินไปตามปกติโดยไม่มีมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Business-as-usual: BAU) และอัตราการเจริญเติบโตของจีดีพีในช่วงปีเดียวกันนี้ จะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ต่อปี หรือเฉลี่ยร้อยละ 3.6 ต่อปี ทั้งนี้ แนวโน้มการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี พ.ศ. 2573 จะอยู่ที่ 843 ล้านตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในกรณีที่ธุรกิจดำเนินไปตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และอาเซียนไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์ ไทย และฟิลิปปินส์ ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในปริมาณสูง กอปรกับภูมิภาคอาเซียนได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก จึงต้องอาศัยพลังงานจำนวนมากเพื่อเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายควรมุ่งความสนใจไปยังการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิง ซึ่งนับเป็นความท้าทายด้านนโยบายสำหรับรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน

จะว่าไปแล้วภูมิภาคอาเซียนมีแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์ทั้งในด้านปริมาณและความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ตลอดจนแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เช่น พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์มากนัก นอกจากนี้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน เป็นประเทศผู้ส่งออกนำมันดิบในภูมิภาค แต่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ยังคงต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดิบในสัดส่วนที่สูง ส่วนในเรื่องของพลังงานทดแทน ก็ต้องยอมรับว่ายังไม่มีการส่งเสริมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด อย่างจริงจัง เนื่องจากยังขาดเทคโนโลยีและเงินทุนสนับสนุน

จากข้อมูลข้างต้น อาจกล่าวได้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อได้เปรียบด้านพลังงานที่ต่างกัน กล่าวคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนได้มากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิก โดยสามารถผลิตกระไฟฟ้าได้ถึง 26,500 เมกะวัตต์ ทำให้หลายคนมองสปป. ลาวว่ามีศักยภาพพอที่จะกลายเป็นฐานพลังงานสำหรับภูมิภาคเซียน เพราะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายๆ ประเทศ ด้านอินโดนีเซียมีปริมาณสำรองของพลังงานมากที่สุดในอาเซียนและมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีศักยภาพสูง ทว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ โดยเฉพาะบรูไน และสิงคโปร์ มีแหล่งพลังงานที่จำกัด แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสองประเทศนี้นับว่ารุดหน้าอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านพลังงานและราคาน้ำมันที่ผันผวน ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เร่งส่งเสริมการให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนกันมากขึ้น สังเกตได้จากการเน้นย้ำแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิชาการเพื่อปฏิวัติอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ตลอดจนพยายามลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้น ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ได้ออกนโยบายส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนที่คาดว่าจะก่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อน โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในขั้นสุดท้าย และเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเพื่อบรรลุเป้าหมายการผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกบางประเทศ เช่น ไทย เร่งผลักดันนโยบายเกี่ยวกับพลังงานเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเป็นไปตามแผนพลังงานที่ชื่อว่า “แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 10 ปี” หรือ (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2012 - 2021) ซึ่งกำหนดให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน เพิ่มขึ้นจาก 7,413 กิโลตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (Kilo Ton Oil Equivalent: KTOE) ในปี พ.ศ. 2555 เป็น 25,000 กิโลตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในปี พ.ศ. 2564 หรือคิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั้งหมด ด้านประฟิลิปปินส์ได้กำหนดแผนพลังงานที่มีชื่อว่า (Philippine Energy Plan: PEP 2004-2013) ซึ่งเน้นการพึ่งพาตัวเองเพื่อลดการพึ่งพิงพลังงานจากต่างประเทศ ตลอดจนเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประเทศมาเลเซียได้กำหนดแผนการที่มีชื่อว่า (Small Renewable Energy Power Programme: SREP) ซึ่งแผนการดังกล่าวนับเป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะส่งเสริมการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

จากภาพรวมทั้งหมด น่าจะพอเดาออกว่าโครงการเกี่ยวกับพลังงานทดแทนหลายๆโครงการยังอยู่ในขั้นตอนนำร่องที่ได้รับการช่วยเหลือทางด้านเงินทุนจากหน่วยงานระหว่างประเทศ และความร่วมมือจากต่างประเทศ (Donor Countries) เป็นหลัก ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ มั่นใจว่าการบรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 15 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ของภูมิภาคอาเซียน ก็คงเป็นได้เพียงภาพในฝันที่ไม่มีทางเป็นจริงได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานมากให้มากขึ้น



TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

กะลามะพร้าวกับเมล็ดมะม่วงใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าได้จริงหรือ?



ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์ เป็นนักพฤกษศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเคนทักกี ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาและนักวิจัยท่านอื่นพยายามแสวงหาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงที่ประกรท้องถิ่นในประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ แรงจูงใจในการทำวิจัยเกิดจากการตระหนักถึงข้อมูลจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติระบุว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้น

ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์จึงได้เดินทางไปสำรวจทรัพยากรท้องถิ่นในประเทศอินโดนีเซีย พบว่ามีการทิ้งกะลามะพร้าวและเมล็ดมะม่วงโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งกะลามะพร้าวและเมล็ดมะม่วงเหล่านี้มีค่าความร้อนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหินคุณภาพต่ำถึงปานกลาง เนื่องจากมะพร้าวและมะม่วงมีการสะสมพลังงานในรูปแบบของพลังงานเคมีเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับโอลีฟ ลูกพีช เชอร์รี่ อัลมอนด์ และวอลนัท

ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์ กล่าวว่าบริษัท ฮัสก์ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ ได้มอบเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากแกลบผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับชุมชน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า แก๊สซิฟิเคชัน (Gasification) ซึ่งเป็นการแปลงสภาพอินทรียวัตถุให้เป็นแก๊ส ด้วยการเผาอินทรียวัตถุในเตาเผา ซึ่งจะให้แก๊สต่างๆ โดยแก๊สเหล่านี้สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อนเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส (Gas Turbine Electric Power) อนึ่ง ชุมชนเหล่านี้มีปริมาณวัตถุดิบพอที่จะช่วยยกระดับความยากจนด้านพลังงานจากการผลิตพลังงานไว้ใช้ในท้องถิ่น

นักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา โพรซีดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันนัล ออฟ ไซน์ (Proceedings of the National Academy of Science) โดยนักวิจัยระบุว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สสามารถรองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในประเทศอินโดนีเซียถึงร้อยละ 13 และประเทศในเขตร้อนสามารถใช้ประโยชน์จากของเสียจากการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งกะลามะพร้าว เมล็ดมะม่วง เปลือกหรือเมล็ดของผลไม้อื่นๆ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เหมือนกัน

กระนั้น ศาสตราจารย์ เซ็ท เดโบว์ กล่าวว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซไม่ใช่ทางออกพลังงานที่ดีนัก เนื่องจากยังมีปัญหาทางด้านเทคนิค โดยเฉพาะวิธีการที่ปลอดภัยในการจัดการกับก๊าซพิษที่เกิดจากการเผา และที่สำคัญโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สก็ยังคงต้องการเงินทุนอุดหนุนในการริเริ่มโครงการ


TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

พลังงานสะอาดจะเฉือนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้หรือไม่



ตามข้อมูลจากองค์การบริหารสมุทศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่จะกลายเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ในอีก 20 ปีข้างหน้า

แซนดี้ แมคโดนัลด์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยระบบโลก องค์การบริหารสมุทศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ กล่าวว่าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมสามารถสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แก่ 48 รัฐที่มีความต้องการใช้ไฟน้อยภายในปี พ.ศ. 2573 ส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลก็จะลดลงเหลือเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานที่เหลือจะมีที่มาจากเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานนิวเคลียร์

โครงการดังกล่าวเป็นผลมาจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลสภาพอากาศจำนวน 16 พันล้านชุด แผนโครงการคัดกรองสถานที่ที่ไม่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และกังหันลม มีอุทยานแห่งชาติและพื้นที่เขตเมืองเป็นต้น และได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่าพื้นที่ทางตอนกลางของสหรัฐฯ เหมาะสำหรับเป็นแหล่งพลังงานลม ส่วนพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ที่ปกคลุมด้วยทะเลทรายเป็นสถานที่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุด

แซนดี้ แมคโดนัลด์ กล่าวว่าโครงการดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้น และโครงการขององค์การบริหารสมุทศาสตร์และบรรยากาศสหรัฐฯ มีความคืบหน้ากว่าที่คาดไว้ โดยมีการพัฒนาแนวคิดการเชื่อมโยงโครงข่ายพลังงานทดแทนให้มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มทุนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการสร้างสมดุลทั้งด้านการผลิตและกฎอุปสงค์ ยกตัวอย่างเช่น เดือนสิงหาคมนับได้ว่าเป็นเดือนที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในประเทศสหรัฐฯ เนื่องจากความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น ประกอบกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในรัฐแอริโซนาลดลงเนื่องจากเป็นช่วงที่มีเมฆเป็นส่วนมาก แต่ทว่ารัฐแคลิฟอร์เนียกลับสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ดี ฉะนั้นจึงควรมีการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง

ทั้งนี้ ประเทศเยอรมนีสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานความร้อนใต้พิภพได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และเยอรมนีมีแนวคิดที่จะผลักดันให้เกิดการพึ่งพาพลังงานทดแทนเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2573 จากการสัมภาษณ์นายฮันส์ โจเซฟ เฟลล์ จากพรรคกรีน ประเทศเยอรมนี การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์อาจมีสัดส่วนอยู่ที่ 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพลังงานลมมีสัดส่วนอยู่ที่ 40 ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีการปรับสมดุลความผันแปรที่เกิดขึ้นกับแหล่งพลังงานดังกล่าวเนื่องจากปัจจัยทางสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง



TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

น้ำคือชีวิต…แล้วน้ำช่วยตอบโจทย์ความต้องการด้านพลังงานของเราได้ไหม

น้ำนับเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างไม่จำกัด แถมการเปลี่ยนพลังงานจลน์จากการไหลของน้ำให้เป็นกระแสไฟฟ้าก็ยังไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

เขื่อนขนาดเล็กที่สร้างขึ้นใหม่บริเวณเทือกเขาพิเรนีส ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าแจกจ่ายไปยังบ้านเรือนกว่า 100 หลัง แถมยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำใต้ดิน (Subterranean River) ที่ไหลมาจากภูเขาลูกหนึ่ง เขื่อนนี้มีผลกระทบทางด้านมลทัศน์น้อยมาก กล่าวคือ บริเวณสันเขื่อนมีบรรยากาศร่มรื่นเขียวชอุ่มด้วยพรรณไม้ จะมีก็แต่โครงสร้างคอนกรีตในบางส่วน เช่น ท่อระบายน้ำคอนกรีต และทางเดินต่างระดับเท่านั้น

ทั้งนี้ พลังงานน้ำมีข้อดีที่สถานีผลิตกระแสไฟฟ้าสามารถหยุดพักและเดินเครื่องเพียงไม่กี่นาที ซึ่งต่างไปจากแหล่งพลังงานอื่นๆ นอกจากนี้ พลังงานน้ำยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีราคาถูก และเขื่อนที่สร้างขึ้นใหม่ในประเทศฝรั่งเศสเขื่อนนี้มีผลกระทบเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้น เขื่อนสามารถสร้างความเสียหายได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าเขื่อนหนึ่งในประเทศเวเนซุเอลาเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายชุมชน น้ำจากเขื่อนที่สร้างขึ้นใหม่เขื่อนนี้ไหลเข้าท่วมแหล่งประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ มีการใช้ประโยชน์จากเขื่อนที่มีศักยภาพส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศสวิสเซอร์แลนด์นับเป็นชาติผู้นำชาติหนึ่งที่มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสวิสเซอร์แลนด์ต้องการแหล่งพลังงานทดแทนในการขับเคลื่อนประเทศมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์แนะว่าควรใช้พลังงานทดแทนจากหลายแหล่งเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงาน ทางที่ดีควรจะมีโครงข่ายไฟฟ้ารองรับกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์และกังหันลม เนื่องจากความยุ่งยากในการจัดเก็บกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแหล่งพลังงานทดแทนเหล่านี้ ซึ่งหากพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าหรือลมพัดไม่แรง น้ำก็จะมีบทบาทแทน


TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4
Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

8/29/2555

การรีไซเคิล

การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือกระบวนการที่เรียกว่า "รีไซเคิล" คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเหมือนเดิม หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้
ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรม นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียม และพลาสติก "การรีไซเคิล" เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป

การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มีกระบวนการอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่

1. การเก็บรวบรวม

2. การแยกประเภทวัสดุแต่ละชนิดออกจากกัน
3. การผลิตหรือปรับปรุง
4. การนำมาใช้ประโยชน์ในขั้นตอนการผลิตหรือปรับปรุงนั้น วัสดุที่แตกต่างชนิดกัน จะมีกรรมวิธีในการผลิต แตกต่างกัน เช่น ขวด แก้วที่ต่างสี พลาสติกที่ต่างชนิด หรือกระดาษที่เนื้อกระดาษ และสีที่แตกต่างกัน ต้องแยกประเภทออกจากกัน



เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตแล้วของเสียที่ใช้แล้วเหล่านี้จะกลายมาอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ใหม่จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนในการนำมาใช้ประโยชน์ ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจึงสามารถสังเกตได้จากเครื่องหมายทีประทับไว้ บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทุกครั้ง
การรีไซเคิล ทำให้โลกมีจำนวนขยะลดน้อยลง และช่วยลดปริมาณการนำทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยลง ลดการถลุงแร่บริสุทธิ์ และลดปริมาณการโค่นทำลายป่าไม้ลงด้วย การหมุนเวียนนำมาผลิตใหม่ยังเป็นการลดการใช้พลังงานจากใต้ภิภพ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศและลดภาวะการเกิดฝนกรด
สำหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบว่า ศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศมีประมาณร้อยละ 16-34 ของปริมาณมูลฝอยที่เก็บได้ แต่มีเพียงร้อยละ 7 หรือประมาณ 2,360 ตันต่อวันเท่านั้น ที่มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์
การนำกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับชีวิตเพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและช่วยถนอมรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกไว้ได้ดีที่สุด ในหนทางหนึ่ง


ที่มา : รวบรวมจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

E85

E85 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 85% โดยปริมาตร กับน้ำมันเบนซิน เป็นสูตรน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีใช้ในบราซิล สวีเดน และแถบมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา และมีนโยบายจากภาครัฐ จะนำมาใช้ในประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2551

ส่วนผสมจากธรรมชาติ
แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของ E85 มักเป็นไบโอแอลกอฮอล์ ที่ได้จากธรรมชาติ เช่นจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริกา จากอ้อยและมันสำปะหลังในประเทศไทย

คุณลักษณะ
E85 จะมีค่าออกเทน อยู่ที่ 100 ถึง 105 สูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป ซึ่งมีค่าออกเทน 87 ถึง 95 รถยนต์ที่ใช้ E85 จะมีอัตราการสิ้นเปลืองสูงกว่ารถที่ใช้น้ำมันเบนซิน ประมาณ 28% แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเครื่องยนต์รุ่นใหม่ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับคุณสมบัติของ E85 เพื่อให้การสิ้นเปลืองลดน้อยลง

เครื่องยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
พาหนะที่ใช้น้ำมัน E85 จะต้องใช้เครื่องยนต์ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ดังเช่นรถFFV ในสหรัฐอเมริกา บราซิล สวีเดน อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้ Conversion Kit สำหรับแปลงระบบการจ่ายน้ำมันชื้อเพลิงในรถทั่วไปที่ไม่ใช่ FFV กันอย่างแพร่หลายทั้งในบราซิลและสหรัฐอเมริกา



สบู่ดำ...พลังงานทดแทน



สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง น้ำมันที่ได้จากเมล็ดสบู่ดำ สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ใช้ปลูกเป็นแนวรั้ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าทำลายผลผลิต เนื่องจากมีสารพิษ Hydrocyanic มีกลิ่นเหม็นเขียว สบู่ดำจึงเป็นพืชที่น่าให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในสภาวะที่ราคาน้ำมันดีเซลมีราคาสูงอย่างในปัจจุบัน สบู่ดำมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha Curcas Linn. อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำมาบีบน้ำมันสำหรับทำสบู่ ปัจจุบันสบู่ดำมีปลูกอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่ามะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่ามะเยาหรือสีหลอด ภาคใต้เรียกว่ามาเคาะ

ประโยชน์ของสบู่ดำ

1.ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น
2.ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต

ต้นสบู่ดำ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่ายเพราะเนื้อไม้ไม่มีแก่น ใบหยักคล้ายใบละหุ่งแต่หยักตื้นกว่า มี 4 หยัก
3.เมล็ด ้หีบเป็นน้ำมัน ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจากการหีบน้ำมัน ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด ยกเว้นมูลไก่ที่มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม มากกว่า และยังมีสารพิษ Curcin มีฤทธิ์เหมือนสลอด เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดิน

ผลสบู่ดำ ผลมีลักษณะเป็นพู โดยส่วนมากจะมี 3 พู สีเขียวอ่อน เวลาสุกแก่จัดจะมีสีเหลืองอายุของผลสบู่ดำตั้งแต่ออกดอกถึงผลแก่ ประมาณ 60 – 90 วัน
เมล็ดสบู่ดำ เมล็ดมีสีดำ ขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็ก ๆ ติดอยู่ ความยาวประมาณ 1.7 – 1.9 เซนติเมตร หนาประมาณ 0.8 – 0.9 เซนติเมตร น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 69.8 กรัม
แมลงที่เข้าทำลายต้นสบู่ดำ ไรขาว เป็นศัตรูอันดับ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น

การขยายพันธุ์สบู่ดำ

1. เพาะเมล็ด เมล็ดสบู่ดำไม่มีระยะพักตัว สามารถเพาะในถุงเพาะหรือกระบะทรายก็ได้อายุประมาณ 2 เดือนจึงนำไปปลูก สำหรับต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 8 – 10 เดือนหลังปลูก

2. การปักชำ ต้องคัดท่อนพันธุ์ที่มีสีเขียวปนน้ำตาลเล็กน้อย หรือกิ่งที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ความยาว 50 เซนติเมตร โดยปักลงในถุงเพาะหรือกระบะทรายก็ได้ ใช้เวลาปักชำประมาณ 2 เดือน จึงนำไปปลูก โดยจะให้ผลผลิตหลังปลูก ประมาณ 6 – 8 เดือน
3.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ทำการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แล้ว ซึ่งได้ผลเหมือนกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดอื่นทั่วไป

การสกัดน้ำมันสบู่ดำ
1.การสกัดในห้องปฏิบัติการโดยใช้วิธีบดให้ละเอียด แล้วสกัดด้วยตัวทำละลาย ปิโตรเลี่ยมอีเทอร์ จะได้น้ำมัน 34.96 % จากเมล็ดรวมเปลือก และ 54.68 % จากเนื้อเมล็ด
2.การสกัดด้วยระบบไฮดรอริค จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %
3.การสกัดด้วยระบบอัดเกลียว จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %

การสกัดน้ำมันด้วยวิธีที่ 2,3 จะต้องนำเมล็ดมาทุบพอแตก แล้วนำไปเพิ่มความร้อน โดยการนำไปตากแดด หรือนึ่ง หรือนำเข้าตู้อบ ก่อนนำเข้าเครื่องสกัด เพื่อให้การสกัดน้ำมันกระทำได้งายขึ้น น้ำมันที่ได้จากการสกัดจะต้องนำไปกรองสิ่งสกปรกออก หรือทิ้งให้ตกตะกอน ก่อนนำไปใช้งาน
น้ำมันที่ได้จากการสกัดสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้เลยโดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ ทำให้เกษตรกรมีความสะดวกที่จะใช้งาน
ผลจากการทดสอบกับเครื่องยนต์ เมื่อเดินเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันสบู่ดำครบ 1000 ชั่วโมง ได้ถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ออกมาตรวจสอบ เสื้อสูบ ลูกสูบ แหวน ลิ้น หัวฉีด และอื่น ๆ ไม่พบยางเหนียวจับ ทุกชิ้นยังคงสภาพดีเหมือนเดิม แสดงว่าน้ำมันสบู่ดำสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กเพื่อการเกษตรได้ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพของเกษตรกรรวมทั้งใช้พื้นที่ ที่ไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้มาปลูกต้นสบู่ดำ เช่นที่ว่างเปล่า ที่ดอน และหัวคันนาเป็นต้น เป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินได้เต็มที่



ที่มา...ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชัยนาท (จักรกลเกษตร)


หมู่บ้านต้นแบบพลังงานทดแทนครบวงจร

การพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กระทรวงพลังงานร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์สมบัติครบ ๖๐ ปี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์แห่งราชบัณฑิตสถาน และดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวลกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร ในหัวข้อการพัฒนาพลังงานทางเลือก : ทางออกของประเทศไทย ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานโครงการในพระราชดำริอันเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาพลังงานทางเลือกมากมาย ในฐานะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญและทำงานด้านพลังงาน ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ เล่าถึงความประทับใจโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า

" ผมอยากขอยกตัวอย่างโครงการในพระราชดำริ อาจไม่เกี่ยวกับพลังงานทดแทนโดยตรง แต่เป็นผลพลอยได้คือเรื่องเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนมีเขื่อนกรุงเทพฯน้ำท่วมทุกปี เสียหายปีละเป็นพันล้าน เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จ ปัญหาน้ำท่วมหายไปเลย เพราะฉะนั้นในแง่การป้องกันน้ำท่วมก็ได้ประโยชน์คุ้มค่าไม่รู้กี่เท่าตัว นอกจากนั้นชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์หลายๆ จังหวัดอาศัยน้ำท่วมในการทำเกษตรกรรม สมัยก่อนไม่เห็นไร่องุ่นแถวๆ นั้น มาตอนนี้เต็มไปหมดเลย และล่าสุดก็เพิ่งติดตั้งกังหันน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า เท่ากับเป็นผลพลอยได้จากการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนป่าสักฯเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างโดยไม่มีปัญหา ผมเข้าใจว่าท่านที่ดูแลโครงการนี้มาตั้งแต่ต้นคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านใช้เวลา 2 ปี อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจก่อนจึงเข้าไปทำเขื่อนเขื่อนนี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ประโยชน์ในลักษณะหลายวัตถุประสงค์" ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เล่าถึงความประทับใจในโครงการพระราชดำริเช่นกันว่า

"ถ้าใครมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชมโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา โดยเฉพาะโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เราจะได้เห็นพระปรีชาสามารถของพระเจ้าอยู่หัวมาก พระองค์ท่านทรงมีสายพระเนตรยาวไกลมากในเรื่องปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน เพราะฉะนั้นพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงมีโครงการหลายๆโครงการที่สวนจิตรลดา โครงการสำคัญที่เราคุยกันมากก็คงเป็นโครงการผลิตเอทานอล ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงทำมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ อย่างที่อาจารย์ปรีดาพูดว่าสมัยก่อนผลิตขึ้นมาแล้วเอาไปทดแทนน้ำมัน ดูเหมือนว่าไม่ค่อยคุ้ม เพราะเอทานอลราคาแพง เมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน เพราะว่าเมื่อก่อนเราใส่ตะกั่วลงในน้ำมัน ต่อมาเรายกเลิกไม่ใส่ตะกั่ว ไปใส่ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งต้องไปซื้อจากเมืองนอก พอมาเทียบราคากับเอทานอลซึ่งใส่แทน MTBE ได้ ก็ปรากฏว่าราคาใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องไปนำเข้าสิ่งที่เราผลิตได้ภายในประเทศ....

โครงการเอทานอลของพระเจ้าอยู่หัว ฃเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ แต่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมามากๆ คงเป็นเมื่อปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมา ตอนนั้นทั้ง ปตท.และบางจากร่วมกันนำเอทานอลมาผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์จำหน่าย เราทำมาหลายปีแล้ว ตอนนี้ ก็เป็นที่นิยม ส่วนเรื่องไบโอดีเซ, พระเจ้าอยู่หัวทรงมีโครงการไบโอดีเซลมาหลายปี เดิมทีพระองค์ท่านมองเรื่องการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อมามีการสร้างโรงงานไบโอดีเซลในสวนจิตรลดา ปัจจุบันโรงงานไบโอดีเซลที่ทำอยู่สามารถผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพค่อนข้างดีมาก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทางโครงการส่วนพระองค์ฯจัดทำขึ้นมา และวันนี้ก็มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้แพร่หลายกลายเป็นไบโอดีเซลชุมชนมากขึ้น"

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววเป็นแนวทางให้ทั้งรับบาลและเอกชนดำเนินการพัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล

เอทานอล
เอทานอลสามารถผลิตได้จากพืชหลายชนิด เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เซลลูโลส ฯลฯ พืชแต่ละชนิดมีแนวโน้มในการพัฒนาและข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ให้ข้อมูลว่า

" ประมาณ ๕ ปีก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายเรื่องเอทานอล คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติตามแนวพระราชดำริดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเอทานอล ซึ่งประเทศไทยใช้อ้อยและมันสำปะหลัง...

"
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พัฒนาพลังงานเพื่อขยายการใช้เชื้อเพลิง
ชีวภาพให้เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งเอทานอลและไบโอดีเซล
"

พืชอีกสองชนิดที่คาดว่าน่าจะนำมาผลิตเอทานอลได้คือ ข้างฟ่างหวาน ซึ่งใช้ในการผลิตส่าเหล้า ราคาไม่ได้แพงกว่ามันสำปะหลัง น่าสนใจมาก เพราะปลูกได้ดีในแถบอีสาน ตอนนี้กำลังทำวิจัยว่าถ้ามรการผลิตในเชิงพาณิชย์ราคาจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีโอกาสมากที่จะเป็นพืชสำรองให้กับมันสำปะหลัง...

ส่วนพืชอีกชนิดหนึ่งคือ แก่นตะวัน หรือเจรูซาเลม อาร์ติโชก เป็นพืชรับประทานที่มทีน้ำตาลสูงมาก ใช้เวลาเติบโต ๔ เดือน ก็น่าสนใจมาก แต่ข้อมูลยังน้อยอยู่ ต้องวิจัยเพิ่มเติม...

ในสหรัฐอเมริกาเขาเป็นห่วงเรื่องพืชอาหารมาก เพราะเขาทำเอทานอลจากข้าวโพด ปีที่แล้วประธานาธิบดีบุชให้เงินวิจัยเรื่องเซลลูโลสซึ่งมันคือน้ำตาลที่ใช้ทำแอลกอฮอล์ รวมไปถึงฟางข้าว ต้นพืชทั้งหลายที่อยู่ในไร่นา ว่าสามารถนำมาทำเอทานอลได้หรือไม่ เพราะต้องการสงวนพืชอาหารเอาไว้"

แม้ว่าประเทศไทยยกเลิกการเดินสารตะกั่วในน้ำมันเบนซินในปี พ.ศ.๒๕๓๙ แต่ก็ต้องนำเข้าสารเพิ่มออกเทนอีกตัวคือ MTBE ต่อมาพบว่าสามารถนำเอทานอลมาใช้แทนสาร MTBE ได้ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นไป จะมีการยกเลิกการเติมสาร MTBE ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษในอากาศเช่นกัน โดยเปลี่ยนมาใช้เอทานอลแทน นโยบายดังกล่าวนอกจากจะดีกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยให้ประเทศประหยัดเงินตราต่างประเทศได้เป็นจำนวนมาก ประเด็นนี้ ดร.อนุสรณ์ ให้ความเห็นว่า

"ประเทศเราต้องนำเข้าพลังงานปีหนึ่งประมาณแปดแสนล้านบาท ขณะที่เราส่งออกพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่า ข้าว มัน อ้อย ไม่กี่แสนล้าน เทียบกับการนำเข้าพลังงานไม่ได้เลย การนำเอทานนอลไปทดแทน MTBE หรือทดแทนน้ำมันในเบนซิน ๙๕ และ ๙๑ ได้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับต้องใช้เอทานอลประมาณวันละสองล้านกว่าลิตร ซึ่งทำให้รัฐเสียรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตไปปีละสามพันล้านบาท แต่ถ้ามองในทางกลับกันการใช้เอทานอลทดแทน MTBE จะฃ่วยให้เราลดการนำเข้าไปหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาทต่อปี เท่ากับมีเงินหมุนเวียนอยู่ในประเทศหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านบาท...

ทุกวันนี้เรามีเอทานอลที่ค้าขายกันอยู่ประมาณห้าแสนกว่าลิตรต่อวัน สิ้นปีนี้โรงงานผลิตเอทานอลที่กำลังจะเปิดคาดว่าจะผลิตเอทานอลได้เก้าแสนถึงหมื่นล้านลิตรต่อวัน ปีหน้าเราต้องการเอทานอลประมาณแปดแสนลิตรต่อวัน ซึ่งหมายความว่าการผลิตและความต้องการใกล้เคียงกันมาก สิ่งที่ภาครัฐกำลังทำอยู่ตอนนี้ก็คือ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าหากโรงงานที่ผลิตเอทานอลเกิดปิดโรงงาน หรือมีเหตุขัดข้องผลิตเอทานอลไม่ได้ตามจำนวนที่ต้องใช้ รัฐบาลก็เลยบอกว่าจะนำเข้าสัก ๓๐ ล้านลิตร เก็บไว้เป็นสต๊อกในยามฉุกเฉิน คือในกณฃรณั้เกิดเหตุฉุกเฉิน แล้วไม่มีซัปพลายเพียงพอเข้ามาในตลาด ก็สามารถใช้เอทานอลที่เก็บเอาไว้มาใช้ได้...

ปัจจุบันประเทศไทยเติมเอทานอลแทนน้ำมันเบนซิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศอื่นอย่างเช่นบราซิลใช้เอทานอลผสมน้ำมันเบนซินในอัตราส่วนที่มากกว่านี้...

ทุกวันนี้มีโรงงานมาขออนุญาตกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดโรงงานเอทานอล ๓๐ แห่ง ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตได้ถึงประมาณวันละ ๕-๖ ล้านลิตร ในขณะที่เราใช้แค่วันละ ๒ ล้านลิตร ที่เหลืออีก ๓ ล้านลิตรจะเอาไปไว้ที่ไหน การจะส่งออกอาจไม่ง่าย เพราะบราซิลก็ผลิต รัฐอาจต้องมองต่อไปเหมือนในต่างประเทศซึ่งเขามี E20, E25, E85, E100 (คือใส่เอทานอลแทนน้ำมัน ๒๐, ๒๕, ๘๕, ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ)...

ประเทศไทยจึงไม่น่าจะหยุดที่ E10 อย่าง E100 มีคนมาคุยกับผมว่า ทำไมเราต้องทำแอลกอฮอล์ ๙๙.๕ ด้วย เพราะจาก ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ไปเป็น ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์นี่ เอาน้ำออกอีก ๕ เปอร์เซ็นต์ มันใช้เงินอีกเยอะมากเลย เลยมีคำถามว่า ทำไมเราไม่ทำเป็น E100 เหมือนในบราซิล ในบราซิล E100 ที่เขาขาย เขาเรียกแอลกอฮอล์ครับ ความเข้มขนไม่ใช่ ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ แต่แค่ ๙๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เขาอนุญาตให้มีน้ำได้อีก ๕ เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่มีปัญหากับการใช้งาน มันก็เลยเกิดเป็นความคิดขึ้นมาว่า ถ้าเรามี E100 เกิดขึ้น เรามีแอลกอฮอล์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ก็พอนะ ไม่ต้องไปถึง ๙๙.๕ นะ เพราะไอ้ ๕ เปอร์เซ็นต์หลังนี่ ระบบแยกน้ำออกนี่มันแพงเหลือเกิน"

ไบโอดีเซล
ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยและพัฒนาทดลองการนำน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล เพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวน้ำมันปาล์มล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำ เป็นผลให้เกษตรกรเดือดร้อน

ปัจจุบันโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วจากห้องเครื่องสำนักพระราชวัง มาผลิตด้วยกระบวนการเอทิลเอสเทอริฟิเคชั่น (Ethyl Esterification) โดยใช้เอทานอลจากหอกลั่นในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สามารถผลิตได้วันละ ๑,๐๐๐ ลิตร และยังได้ผลิตภัณฑ์ข้างเคียงคือกลีเซอรีน ซึ่งนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเรื่องอื่นๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป

วัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลนอกจากปาล์มแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาอธิบายว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นก็นำมาใช้ได้เช่นกัน

"น้ำมันพืชทุกอย่างใช้ได้อยู่แล้ว เคยลองน้ำมันพืช ๕-๖ ตัว กับเครื่องยนต์ประเภทความเร็วต่ำ (low-speed engine) เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอำไร ขณะนี้ใช้ปาล์มน้ำมันมากที่สุด เนื่องจากเป็นอาหารด้วย และมีสำรองประมาณ ๑ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ในสภาพปัจจุบัน ถามว่าเพิ่มได้ไหม มีข้อแม้ว่าถ้าเพิ่มต้องไม่ไปถางป่าใช่ไหม ถ้าไม่ถางป่าก็แปลว่าต้องไปปลูกแทนพืชอื่น ช่วงหนึ่งบอกราคายางไม่ดี ก็เสนอทดแทนด้วยสวนปาล์ม แต่ ๔-๕ ปีมานี้ อุตสาหกรรมรถยนต์กับความต้องการรถยนต์ในจีนมหาศาล จีนซื้อยางไม่จำกัด ราคายางก็เลยขึ้น ก็ไม่มีใครเปลี่ยนมาปลูกปาล์ม แม้กระทั่งทางภาคตะวันออก มีเพื่อปลูกเงาะกับทุเรียนยังบอกว่าจะโค่นต้นเงาะไปปลูกยางแทน เพราะมีดินกับน้ำคล้ายกัน ผมเลยห่วงว่าพื้นที่ที่เหมาะสมจะปลูกน้ำมันปาล์มมีพอหรือเปล่า เคยมีโครงการจะปลูกรอบๆ แถวทะเลสาบสงขลา ทางสงขลาไม่ยอม เขากลัวน้ำเสียลงทะเลสาบ มีนมีหลายเรื่องต้องดู...

สบู่ดำเป็นตัวเลือกที่ดี แต่จากโครงการที่ให้ไปทำวิจัยสบู่ดำดีที่สุดของบ้านเรา มันจะได้ประมาณพันกิโลกรัมต่อไร่ ความคุ้มค่ายังไม่ดีพอ เพราะภาระอยู่ที่การพพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำ ที่น่าสนใจคือ สบู่ดำไม่ใช่อาหาร ตัวใบและต้นมันมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรเนื่องจากมันไม่เป็นอาหาร มันน่าจะตัดต่อพันธุกรรมเพื่อขยายพันธุ์ได้ ถ้าบอกจะไปตัดต่อพันธุกรรมกับน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมคงไม่ยอม เพราะจะมีปัญหาเรื่องส่งออกไปต่างประเทศ โดนเฉพาะประเทศที่เคร่งศาสนา เขาถือว่ามนุษย์ไม่มีสิทธิ์ไปสร้างชีวิต แต่สบู่ดำไม่ใช่อาหาร มันก็น่าจะเลี่ยงได้"

พลังงานทางเลือกอื่นๆ
นอกเหนือจากเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเอทานอลและไบโอดีเซลแล้ว ก็ยังมีพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดาเสนอความคิดเห็นว่า

"ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่นำพลังงานลมมาใช้อย่างจริงจัง มีแต่เป็นแบบทดลองของ กฟผ.ที่แหลมพรหมเทพ แต่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยไม่เหมือนในยุโรปจะใหญ่มาก อย่างที่เยอรมนี ชาวนาสามารถกู้เงินแบงก์มาตั้งกังหันลม แล้วขายไฟฟ้ากลับไป เขาทำนา ไม่ได้เสียอะไร...

ในอดีตเราวัดลมที่ ๑๐ เมตร เราก็บอกว่าพลังลมของเมืองไทยศักยภาพต่ำ ในเวลานั้นการติดกังหันลมต้องการลมประมาณ ๕ เมตรต่อวินาที แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีดีขึ้น ลม ๓ เมตรต่อวินาทีก็ทำงานได้แล้ว ซึ่งหากวัดพลังงานลมในระดับ ๔๐ เมตร ลมก็จะแรงขึ้น หรือตามชายทะเลบนเกาะ ลมในระดับ ๔๐ เมตร ๑๐๐ เมตรน่าจะมีความเป็นไปได้ ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยกันอยู่ว่าที่ไหนเหมาะสมจะทำกังหันลมไปติดแล้วสามารถผลิตไฟฟ้าได้จริง เพราะสองฝั่งทะเลทั้งตะวันตกและตะวันออกรวมเป็นระยะทางเกือบสองพันกิโลเมตร เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจมาก...

ในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่ายังไม่คุ้มค่าถ้ามีสายไฟเข้าไปถึงแล้ว เพราะเทคโนโลยีในขณะนี้ยังใช้ซิลิกอนในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งยังไม่ได้ผลดีนักเมื่อเทียบกับการลงทุน แต่ไม่ได้หมายความว่าพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีศักยภาพ แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรในการดึงพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า ซึ่งยังต้องศึกษาวิจัยกันอยู่"

ดร.อนุสรณ์เสริมว่า

"ผมมองว่าประเทศเราเป็นประเทศร้อน แสงอาทิตย์เยอะมาก การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มันเป็นต้นทุนที่แพงมากเมื่อเทียบกับอย่างอื่น แต่จริงๆ เราก็ไม่ยอมแพ้ ผมมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวเราอาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอะไรมากมาย ขอให้ทำแล้วสามารถนำไปใช้ได้ ก็น่าจะทำตรงนั้น"

"
การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียง
ทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร
ใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้
มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงาน
กับหาพลังงานทดแทน
"

อนาคตของการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางใด ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดามีความเห็นว่า "การแก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทางใดทางหนึ่งเพียงทางเดียว ขึ้นอยู่กับว่าใช้ทำอะไร ใช้เมื่อไหร่ ใช้ที่ไหน จะมัวหวังให้ราคาน้ำมันลดลงคงไม่ได้ มันก็ต้องหาทางออกด้วยการประหยัดพลังงาน กับหาพลังงานทดแทน"

"
พระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ท่านมีโครงการ
ต้นแบบที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องเอทานอล
ไบโอดีเซล ในฐานะที่อยู่ในบริษัทน้ำมัน หน้าที่
ก็คือ ทำพระราชดำริออกมาเป็นรูปธรรม
ในเชิงปฏิบัติให้ได้มากที่สุด การที่จะทำให้เป็นไปได้
ในทางปฏิบัติและยั่งยืน จะต้องผสมผสานกัน
หลายเรื่อง เพราะมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่วัตถุดิบ และต้องพยายามส่งเสริมการ
พัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง เพื่อให้ประเทศไทย
ก้าวสู่ประเทศที่มีพลังงานทดแทนใช้ในประเทศ
ได้อย่างยั่งยืนละยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
"

โครงการฝนหลวง

โครงการฝนหลวงเกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของโครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฏีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"ต่อไป

สารที่ใช้ทำฝนหลวงในปัจจุบันมีทั้งสิ้น ๗ ชนิด บางชนิดมีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ดี (hygroscopic substances) บางชนิดมีคุณสมบัติเป็นแกนกลั่นตัว (CCN) ของความชื้นในอากาศ บางชนิดสามารถคายความร้อนออกมาเพื่อกระตุ้น หรือเสริมการก่อตัวและเจริญเติบโตของเมฆ บางชนิดสามารถดูดดึงความร้อนทำให้อุณหภูมิของอากาศหรือเมฆเย็นตัวลง เร่งการกลั่นตัวของไอน้ำและเสริมความหนาแน่นของเมฆจนเกิดเป็นฝน การเลือกใช้สารฝนหลวงแต่ละชนิดจึงพิจารณาคุณสมบัติที่กล่าวข้างต้นกับสภาวะของเมฆหรือบรรยากาศในแต่ละวันเป็นสำคัญ สารฝนหลวงที่ใช้แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ สารฝนหลวงสูตรร้อน สารฝนหลวงสูตรเย็น และสารฝนหลวงสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ

สำหรับสารฝนหลวงสูตรเย็นนั้นมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้อุณหภูมิลดลงหรือเย็นลง สำหรับที่ใช้ในปัจจุบันมี ๓ ชนิดคือ

สูตร ๔ ยูเรีย (Urea)
สูตร ๑๙ แอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate)
สูตร ๓ น้ำแข็งแห้ง (Dry ice)
โครงการฝนหลวงเป็นนวัตกรรมซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พสกนิกรเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ไปในตัว อันเป็นผลดีต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าไปด้วย

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนองแนวพระราชดำริด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ โดยมอบน้ำแข็งแห้งและน้ำมันอากาศยาน JET A-1 ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำหรับใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๔ จนถึงปัจจุบัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้มอง "น้ำแข็งแห้ง"ให้โครงการฝนหลวงเป็นปริมาณรวมแล้ว ๒,๘๕๐ ตัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๒,๘๐๐๐,๐๐๐ บาท




ที่มา : พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง


พลังงานน้ำขึ้นน้ำลงคือพลังงานที่สามารถผลิตได้จากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล สามารถระบุได้อีกทางหนึ่งว่าคือผลของการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำโดยตรง โดยที่พลังงานน้ำขึ้นน้ำลงถือเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำแทนที่การเผาผลาญสิ่งต่างๆ และยังถือเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด เนื่องจากระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นและลดลงตามระดับแรงดึงดูด

ข้อดีของพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงนี้ถือว่าเป็นพลังงานจากแหล่งที่มั่นคง เนื่องจากสามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น ลม และ แสงอาทิตย์แล้ว น้ำขึ้นน้ำลงคือสิ่งที่คาดเดาได้ง่ายกว่าและเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่เหมือนลมหรือแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรือสภาพอากาศ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้วก่อให้เกิดแรงดึงดูดจากทั้ง 2 ด้าน

ดังนั้น พลังงานทั้งหมดที่ดำเนินการภายในวงโคจรที่สร้างความไม่สมดุลของระดับน้ำภายในโลก บางที่น้ำจะขึ้นสูง ในขณะที่พื้นที่บางส่วนน้ำจะลดลง

พลังงานน้ำขึ้นน้ำลงสามารถผลิตขึ้นได้อย่างไร
น้ำสามารถถูกเก็บได้ด้วยวัสดุแบบพิเศษเพื่อเก็บน้ำที่ขึ้นสู่ระดับสูงสุด เมื่อน้ำขึ้นสู่ระดับสูงสุดก็จะลงไปในบ่อที่ถูกสร้างขึ้นมาเก็บน้ำส่วนนี้โดยเฉพาะ

เมื่อน้ำลดระดับลง ก็จะเกิดแรงดันที่จะดันประตูน้ำให้น้ำไหลออกจากบ่อได้ ส่วนแตกต่างของระดับน้ำในหนองน้ำและน้ำในบ่อจะเป็นการสร้างพลังงานที่สามารถใช้งานได้เมื่อน้ำทั้งหมดถูกปล่อยออกไป

เมื่อน้ำในหนองน้ำมีระดับต่ำมาก น้ำในบ่อจะถูกปล่อยด้วยช่องพิเศษที่ติดตั้งกังหันผลิตไฟฟ้าไว้ด้วย ความแรงของกระแสน้ำจะทำให้กังหันดังกล่าวหมุนเพื่อผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ถูกผลิตจะขึ้นอยู่กับความสูงของระดับน้ำ เมื่อในบ่อมีน้ำในระดับสูงขึ้นก็จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงคือพลังงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตที่พึ่งพาระดับน้ำเป็นหลัก

ข้อดีของพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
ข้อดีของพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงคือไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษอื่นๆ ระบบผลิตกระแสไฟฟ้านี้ไม่ต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง และมีต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ กังหันผลิตกระแสไฟฟ้านอกชายฝั่งนี้ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย



พลังงานคลื่น

แนวทางการใช้ประโยชน์จากทะเลเป็นแหล่งพลังงาน
เมืองกีวีเตรียมใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานทางทะเลเพื่อสอดรับกับความต้องการด้านพลังงานภายในประเทศในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า


เทคโนโลยีทางทะเล หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ Blue Energy ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และความสนใจในการพัฒนาพลังงานดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศนิวซีแลนด์ ทั้งนี้ นิวซีแลนด์นับเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ สามารถใช้ประโยชน์ได้จากแหล่งพลังงานทางทะเล ซึ่งสามารถรองรับความต้องการพลังงานได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าคลื่นกระแสลมตะวันตกที่ก่อตัวในมหาสมุทรใต้และทะเลแทสมันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยกว่า 100 กิโลวัตต์ต่อแนวสันคลื่น


นายเดวิด ปาร์คเกอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต้องการระดมทุนเพื่อศึกษาศักยภาพพลังงานคลื่นและเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่น โดยมีความตั้งใจหลักเพื่อคิดค้นเทคโนโลยีพลังงานคลื่นและน้ำขึ้นน้ำลงและศึกษาผลกระทบสิ่งทางทะเล ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมากขึ้น และตนก็มั่นใจว่าสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานทางทะเลได้หลายวิธี ทั้งนี้ หลายฝ่ายกำลังผลักดันให้มีการพัฒนาพลังงานดังกล่าว เนื่องจากพลังงานทางทะเลนับเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานทางเลือกที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ขณะเดียวกัน มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานทางทะเล เช่น พลังงานนอกชายฝั่งและพลังงานใต้ท้องทะเล อย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ


ด้าน นายแอนดริว แลง จากสมาคมเอาเตอารัวเพื่อการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานพลังงานคลื่นและพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงหรือ (Aotearoa Wave and Tidal Energy Association: AWATEA) กล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา แต่อุตสาหกรรมพลังงานทางทะเลนับเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่สามารถเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การพัฒนาพลังงานทางทะเลอาจมีอุปสรรคบางประการ อุปสรรคที่ว่าคือการออกแบบเครื่องมือที่สามารถรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยนิวซีแลนด์อาจนำต้นแบบเทคโนโลยีทางทะเลจากต่างประเทศมาทดสอบหรือปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น




TTF International Co.,Ltd
6th Floor, A.E.House 200/12-14, Soi Ramkhamhaeng 4

Ramkhamhaeng Rd, Suan Luang, Bangkok 10250 Thailand.
Tel : (66) 2717-2477 Fax : (66) 2717-2466
www.ttfintl.com

8/22/2555

แก๊สโซฮอล์


ความหมายและความสำคัญของแก๊สโซฮอล์

แก๊สโซฮอล์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่างเอทานอล หรือ ที่เรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (ETHYL ALCOHOL) ซึ่งเป็น แอลกอฮอล์ ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ และเป็นแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5 % โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (ชนิดที่มีคุณสมบัติบางตัวต่างจากเบนซิน 91 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ออกเทน 95

ส่วนที่เรียกแก๊สโซฮอล์นั้น ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษจากคำว่า GASOLINE และ ETHANOL รวมกันเป็น GASOHOL สำหรับการผสมแอลกอฮอล์ในน้ำมันเบนซินในข้างต้น เป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่า Oxygenates และออกเทน (Octane) ของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ MethyL-Tertiary-ButyL-Ether (MTBE) ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านต่อปี

ข้อดีของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์

ผลดีต่อเครื่องยนต์


1. ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินออกเทน 95
2. ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้งานและอัตราการเร่งดีกว่าหรือไม่แตกต่าง จากน้ำมันเบนซิน 95
3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์
4. สามารถเติมผสมกับน้ำมันที่เหลืออยู่ในถังได้เลย โดยไม่ต้องรอให้น้ำมันในถังหมด

ผลดีต่อประเทศ
1. ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศลดการขาดดุลทางการค้า
2. ใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรสูงสุดและยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร
3. เครื่องยนต์มีการเผาไหม้ที่ดีขึ้นทำให้ช่วยลดมลพิษไอเสียทางอากาศและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
4. โดยสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนนอกไซด์ลง 20-25% ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนในประเทศ
5. ทำให้เกิดการลงทุนที่หลากหลายทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม

เพื่อชาติ
1. เป็นพลังงานทดแทน ผลิตจากพืชเกษตรในประเทศ ใช้แทนสารเพิ่มออกเทนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ประหยัดเงินตราต่างประเทศมากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี
2. ประหยัดการใช้น้ำมันที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยการนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซิน จะช่วยลดการใช้น้ำมันของประเทศลงได้ประมาณ 10% หรือเดือนละ 25 ล้านลิตร
3. เกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการผลิตเอทานอลที่ได้จากพืชเกษตร
4. ลดมลพิษทางอากาศ โดยลดไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนออกไซด์ ลงได้ 20-25% ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (GREEN HOUSE EFFECT) รวมทั้งลดควันดำ ลดสารอะโรเมติกส์และลดสารเบนซิน
5. ช่วยกระจายการลงทุน การจ้างงานสู่ชนบท

เพื่อคุณ
1. ได้ใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในราคาที่ประหยัดลง 50 สตางค์ต่อลิตร
2. ช่วยให้เครื่องยนต์เผาไหม้สะอาด สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ได้มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อนร่วมชาติให้ขายผลผลิตได้ในราราที่สูงขึ้น
4. ได้ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลถึงชีวิตตนเอง ลูกหลาน และเพื่อนร่วมชาติ





© Copyright 2007 Ministry of Energy
ติดต่อสอบถาม ที่ pr@energy.go.th

เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน พลังงานทดแทนแห่งอนาคตอันใกล้

ถ้าจะกล่าวถึงเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) หลายๆ ท่านคงจะนึกถึงรถยนต์ที่มีขับกันในประเทศของเรา ที่บริษัทผู้นำเข้ามาขายชี้ให้เห็นถึงด้านการประหยัดการใช้น้ำมันและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเครื่องยนต์ใช้ระบบพลังงานร่วมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงและเซลล์เชื้อเพลิง เป็นพลังงานออกมาขับเคลื่อนรถยนต์ แต่จะมีสักกี่ท่านที่จะเข้าใจระบบการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงบ้าง บทความนี้จะทำให้ท่านทราบถึงความเป็นมาและหลักการของเซลล์เชื้อเพลิงประเภทนี้ (เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน)

รู้จัก การคิดค้น และการค้นพบ
เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งคล้ายกับแบตเตอรี่ทั่วๆ ไป แตกต่างกันที่เซลล์เชื้อเพลิงนี้ถูกออกแบบมาให้มีการเติมน้ำ (สารตั้งต้น) เข้าสู่ระบบ นั่นคือการเติมไฮโดรเจนและออกซิเจน เพื่อช่วยขจัดปัญหาด้านปริมาณความจุที่มีอยู่อย่างจำกัดของแบตเตอรี่ โดยขั้วไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะเข้าทำปฏิกิริยาเพื่อรับประจุไฟฟ้าและคายประจุไฟฟ้า ในขณะที่ขั้วไฟฟ้าของเซลล์เชื้อเพลิงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งค่อนข้างมีความเสถียร สารตั้งต้นที่ใช้โดยทั่วไปในเซลล์เชื้อเพลิง ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจนที่ขั้วแอโนดและก๊าซออกซิเจนที่ขั้วแคโทด เมื่อมีน้ำเข้าสู่ระบบ สารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นก็จะไหลออกจะระบบไปใช้งาน

การทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงนี้จะเกิดขึ้นเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ ตามความสามารถที่จะควบคุมการไหลของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนที่เกิดจากน้ำได้ ซึ่งเซลล์เชื้อเพลิงนี้มักถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เหมาะสำหรับการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงและก็ปราศจากมลพิษ เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงต่างๆ ที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อมด้วย แต่สำหรับสิ่งเดียวที่เกิดจากการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิง ก็คือ น้ำ ถึงอย่างไรก็ตามในด้านการลงทุนเพื่อสร้างเซลล์เชื้อเพลิงนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง

หลักการของเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ได้ถูกทดลองและค้นพบโดย Mr.Christian Friedrich Schönbein ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ.1838 และได้ถูกนำลงตีพิมพ์ในวารสาร Philosophical จากการค้นพบหลักการในครั้งนั้น ได้นำมาซึ่งการสร้างเซลล์เชื้อเพลิงต้นแบบขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเวลส์ (Welsh) Sir.William Grove ได้ตีพิมพ์ลงสื่อในปี ค.ศ.1843

ต่อมาในปี ค.ศ.1959 นักวิศวกรชาวอังกฤษ Mr.Francis Thomas Bacon ได้ทำการสร้างเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 5 กิโลวัตต์ ขึ้นได้สำเร็จ จากนั้น Mr.Francis Thomas Bacon และทีมงาน ได้สร้างเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ สามารถใช้งานได้จริงกับเครื่องเชื่อม นำไปสู่การจดสิทธิบัตรของ Mr.Francis Thomas Bacon ต่อมาในช่วง ค.ศ.1960s ได้นำประยุกต์ใช้ในโครงการอวกาศของประเทศสหรัฐอเมริกาในการผลิตพลังงาน

สำหรับในเวลานั้นต้นทุนในการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงสูงมาก และการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงอยู่ในอุณหภูมิที่สูงมากทำให้เป็นปัญหาในการนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ อย่างไรก็ตามเซลล์เชื้อเพลิงนี้ยังดูเป็นทางเลือกที่เหมาะกับหลายๆ ด้าน อันเนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่หาได้ง่าย (ไฮโดรเจนและออกซิเจน) และเป็นการใช้งานที่ไม่สร้างมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อมถือว่าเป็นพลังงานสะอาดนั่นเอง

การพัฒนายังมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง ค.ศ.1980-2000 โดย Mr.Geoffrey Ballard เจ้าของบริษัท Ballard Power Systems Inc. ที่ทำการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงในแคนาดา ได้นำ Nafion ได้นำใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่มีราคาถูกและทนทานวัสดุเดิมเป็นอิเล็กโทรไลต์และยังช่วยลดการใช้แพลทินั่มอย่างมากอีกด้วย ทำให้อนาคตการใช้เซลล์เชื้อเพลิงสำหรับผู้บริโภคทั่วๆ ไปมากขึ้น เช่น ในรถยนต์ เป็นต้น ไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะโรงงานและภาคอุตสาหกรรมอีกต่อไป

พลังงานถ่านหิน


ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอดีตจนถึงปัจจุบัน อุตสาหกรรมถ่านหินซึ่งรวมทั้งการสำรวจ การผลิต และการใช้นั้นได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศ ที่เป็นผู้นำทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศในยุโรป

ทั้งนี้ถ่านหินมีกำเนิดจากซากพืช ประกอบด้วยคาร์บอน สารระเหยง่ายความชื้น และขี้เถ้าที่ถูกแปรเปลี่ยนไปเนื่องจากความร้อนและความกดดันโดยใช้เวลาหลาย ล้านปี ถ่านหินแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่ 1.แอนทราไซด เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีที่สุด และหายากที่สุด มีคาร์บอนสูงร้อยละ 92-93 และเป็นพวกไอโดรคาร์บอนที่ต่ำที่สุด มีสีดำ ไม่ค่อยมีขี้เถ้า เผาไหม้ให้ความร้อนสูง ให้เปลวสีน้ำเงิน มีควันน้อยมาก

2.บิทูมินัส มีคาร์บอนร้อยละ 75 ความชื้นน้อยกว่าร้อยละ 15-50 ติดไฟง่าย ใช้ทำถ่านโค้ก ใช้ในอุตสาหกรรมได้ 3.ซับบิทูมินัส มีสีดำ มีคาร์บอนร้อยละ 25 และ 4.ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำที่สุด มีปริมาณคาร์บอนต่ำที่สุด และมีปริมาณความชื้นมาก

ปริมาณสำรองของถ่านหินมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ดังนั้นถ้ามีวิธีการนำมาใช้ที่เหมาะสมก็สามารถใช้ได้นานไม่น้อยกว่า 200 ปี เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะหมดไปในระยะเวลา 40-60 ปีนี้

ประเทศไทยมีปริมาณสำรองถ่านหินมากกว่า 2,000 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้คิดเป็นปริมาณสำรองที่ประเมินแล้วประมาณ 1,100 ล้านตัน แหล่งถ่านหินส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศ โดยมีศักดิ์ของถ่านหิน อยู่ในระดับลิกไนต์ โดยซับบิทูมินัส จนถึงบิทูมินัส มีบ้างที่มีศักดิ์เป็นแอนทราไซต์ แต่มีปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งพบได้ที่แหล่งในจังหวัดเลย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมืองไทยมีการนำเข้าถ่านหินคุณภาพสูง โดยมีการนำเข้าถ่านหินบิทูมินัสในปริมาณมากที่สุด เนื่องจากแหล่งถ่านหินส่งออกของภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่ผลิตถ่านหินบิทูมินัส ซึ่งมีคุณภาพดี โดยมีปริมาณนำเข้าถ่านหินจากอินโดนีเซียมากที่สุดประมาณร้อยละ 65 รองลงมาได้แก่ เวียดนาม พม่า ออสเตรเลีย จีน ลาว และอื่นๆตามลำดับ เนื่องจากการเลือกใช้ถ่านหินขึ้นอยู่กับคุณภาพและระยะทางขนส่ง การนำเข้าถ่านหินจึงมาจากประเทศใกล้เคียงเพื่อให้ได้ถ่านหินที่มีคุณภาพดีใน ราคาที่เหมาะสม

ถ่านหินที่ใช้ในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตภาคไฟฟ้าถึงร้อยละ 81 ที่เหลือร้อยละ 19 ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเรียงตามลำดับการใช้จากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้อุตสาหกรรมซีเมนต์ กระดาษ เยื่อไฟเบอร์ อาหาร ปูนขาว ใบยาสูบ โลหะ แบตเตอรี่และอื่นๆ

ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและจีน ทำให้เทคโนโลยีนี้แพร่หลายมากขึ้นและมีราคาถูกลง ตัวอย่างในประเทศจีน ได้ประมาณว่ามีโรงงานผลิตก๊าซจากถ่านหินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 10,000 แห่ง และมีโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิต Coal Water Mixture หลายโรงงาน



ขอบคุณแหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ โดย ราชดำเนินกลาง / ชุมพล

พลังงานขยะ


ขยะเชื้อเพลิง
การใช้ขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้เพื่อการเผาไหม้ โดยตรงมักก่อให้เกิดความยุ่งยากในการใช้งานเนื่องจากความไม่แน่นอนในองค์ ประกอบต่างๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นขยะมูลฝอย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามชุมชนและตามฤดูกาล อีกทั้งขยะมูลฝอยเหล่านี้มีค่าความร้อนต่ำ มีปริมาณเถ้าและความชื้นสูง สิ่งเหล่านี้ก่อความยุ่งยากให้กับผู้ออกแบบโรงเผาและผู้ปฎิบัติและควบคุมการ เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ยาก การแปรรูปขยะมูลฝอยโดยผ่านกระบวนการจัดการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของขยะมูลฝอยเพื่อทำให้ กลายเป็นขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel; RDF) จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวมาข้างต้นได้ ซึ่งขยะเชื้อเพลิงที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงาน ได้
ขยะเชื้อเพลิง หมายถึง ขยะมูลฝอยที่ผ่านกระบวนการจัดการต่างๆ เช่น การคัดแยกวัสดุที่เผาไหม้ได้ออกมา การฉีกหรือตัดขยะมูลฝอยออกเป็นชิ้นเล็กๆ ขยะเชื้อเพลิงที่ได้นี้จะมีค่าความร้อนสูงกว่าหรือมีคุณสมบัติเป็นเชื้อ เพลิงที่ดีกว่าการนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมมาใช้โดยตรง เนื่องจากมีองค์ประกอบทั้งทางเคมีและกายภาพสม่ำเสมอกว่า ข้อดีของขยะเชื้อเพลิง คือ ค่าความร้อนสูง (เมื่อเปรียบเทียบกับขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมมา) ง่ายต่อการจัดเก็บ การขนส่ง การจัดการต่างๆ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ


วิธีการใช้ประโยชน์จากขยะเชื้อ เพลิง
การใช้ RDF นั้น ทั้งเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน โดยที่อาจจะมีการใช้ RDF เป็นเชื้อเพลิงภายในที่เดียวกัน หรือมีการขนส่งในกรณีที่ตั้งของโรงงานไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน ทางเลือกอีกทางหนึ่งก็คือ นำไปใช้เผาร่วมกับถ่านหิน เพื่อลดปริมาณการใช้ถ่านหินลง อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมซีเมนต์ ได้มีการนำ RDF ไปใช้ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ทำให้ลดการใช้ถ่านหินลงไปได้



เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะ
กระบวนการผลิตก๊าซเชื้อ เพลิงจากขยะ (MSW Gasification) เป็นกระบวนการทำให้ขยะเป็นก๊าซโดยการทำปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์ (partial combustion) กล่าวคือสารอินทรีย์ในขยะจะทำปฏิกิริยากับอากาศหรือออกซิเจนปริมาณจำกัด ทำให้เกิดก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนและมีเทน เรียกว่า producer gas ในกรณีที่ใช้อากาศเป็นก๊าซทำปฏิกิริยา ก๊าซเชื้อเพลิงที่ได้จะมีค่าความร้อนต่ำประมาณ 3 – 5 MJ/Nm3 แต่ถ้าใช้ออกซิเจนเป็นก๊าซทำปฏิกิริยา ก๊าซเชื้อเพลิงที่ได้จะมีค่าความร้อนสูงกว่าคือ ประมาณ 15 – 20 MJ/Nm3
กระบวนการผลิตก๊าซเชื้อเพลิง
กระบวนการผลิตก๊าซเชื้อ เพลิงจากเชื้อเพลิงแข็งประกอบไปด้วยกระบวนการสลายตัว (decomposition) และกระบวนการกลั่นสลาย (devolatilization) ของโมเลกุลสารอินทรีย์ในขยะ ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1,200 – 1,400 ºC ในบรรยากาศที่ควบคุมปริมาณออกซิเจน เพื่อผลิตสารระเหยและถ่านชาร์ ในขั้นตอนของกระบวนการกลั่นสลายหรือที่เรียกว่าไพโรไลซิส (pyrolysis) ขยะจะสลายตัวด้วยความร้อนเกิดเป็นสารระเหยเช่น มีเทน และส่วนที่เหลือยังคงสภาพของแข็งอยู่เรียกว่า ถ่านชาร์ สารระเหยจะทำปฏิกิริยาสันดาปแบบไม่สมบูรณ์ต่อที่อุณหภูมิสูงหรือปฏิกิริยา ทุติยภูมิ (secondary reaction) ในขณะที่ถ่านชาร์จะถูกก๊าซซิฟายต่อโดยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำ ได้เป็นก๊าซเชื้อเพลิง

ปฏิกิริยาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะ เป็นตัวกำหนดองค์ประกอบของก๊าซเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจัยหลักที่จะกำหนดการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวคืออุณหภูมิภายในเครื่อง ปฏิกรณ์ เช่น ถ้า residence time ในบริเวณ hot zone ของเครื่องปฏิกรณ์น้อยเกินไป หรืออุณหภูมิต่ำเกินไป จะทำให้โมเลกุลขนาดกลางไม่เกิดการสันดาปและจะหลุดออกไปเกิดการควบแน่นที่ บริเวณ reduction zone เป็นน้ำมันทาร์
รูปแบบการใช้งานก๊าซเชื้อเพลิง (เช่น ให้ความร้อนโดยตรง ผลิตไฟฟ้า หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับพาหนะ) จะเป็นตัวกำหนดองค์ประกอบของก๊าซเชื้อเพลิง การกำจัดปริมาณของน้ำมันทาร์และฝุ่นละอองในก๊าซเชื้อเพลิง ปัจจัยที่กำหนดสัดส่วนองค์ประกอบของก๊าซเชื้อเพลิงคือ ชนิดของเครื่องปฏิกรณ์ สภาวะความดันและอุณหภูมิ และคุณลักษณะของขยะ คุณลักษณะของขยะจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางด้านเคมีความร้อนของ เครื่องปฏิกรณ์ในแง่ของประสิทธิภาพของระบบและคุณภาพของก๊าซเชื้อเพลิงที่ ได้ ก๊าซเชื้อเพลิงที่ได้สามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน การเผาในกังหันก๊าซ หรือหม้อไอน้ำ




กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ติดต่อสอบถาม : Tel. 0-2223-2593-5 , 0-2222-4102-9
Fax. 0-2225-3785 Email : webmaster@dede.go.th

พลังงานความร้อน



พลังงานความร้อน หรือ พลังงานอุณหภาพ เป็น รูปแบบหนึ่งของพลังงาน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย
หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์

อุณหภูมิและหน่วยวัด
ในชีวิตประจำวันเราจะคุ้นเคยกับการใช้พลังงานความร้อน (thermal energy) อยู่เสมอ พลังงานความร้อนเป็นพลังงานที่สามารถถ่ายเทจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เมื่อวัตถุดูดกลืนพลังงานความร้อนจะทำให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงเกิดการถ่ายเทพลังงานความร้อนให้กับวัตถุอื่นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ซึ่งต้นกำเนิดของพลังงานความร้อนมาจากดวงทิตย์ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การขัดถูกันของวัตถุ และจากพลังงานไฟฟ้า วัตถุเมื่อได้รับพลังงานความร้อนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิเป็นปริมาณที่บอกให้ทราบถึงระดับความร้อนของวัตถุ เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิมีหลายชนิดที่นิยมใช้กันมากคือ เทอร์มอมิเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้หลักการขยายตัวของของเหลวเมื่อได้รับความร้อน มีลักษณะเป็นหลอดแก้วยาว ปลายทั้งสองข้างปิด ปลายหลอดข้างหนึ่งเป็นกระเปาะ ซึ่งบรรจุของเหลวที่ขยายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อน และหดตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความเย็น ของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในเทอร์มอมิเตอร์นิยมใช้ปรอทซึ่งมีสีเงิน แต่บางทีก็ใช้แอลกอฮอล์ผสมสีบรรจุในเทอร์มอมิเตอร์แทนปรอท
หน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิที่นิยมกันอย่างแพร่หลายคือ องศาเซลเซียส ( ํC) องศาฟาเรนไฮต์ ( ํF) และเคลวิน (K) โดยกำหนดว่า อุณหภูมิที่เป็นจุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์ คือ 0 องศาเซลเซียส หรือ 32 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 273 เคลวิน และอุณหภูมิที่เป็นจุดเดือดของน้ำบริสุทธิ์ คือ 100 องศาเซลเซียส หรือ 212 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 373 เคลวิน

พลังงานนิวเคลียร์

พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy)


หมายถึง พลังงานไม่ว่าในลักษณะใดซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแยก, รวมหรือแปลงนิวเคลียส (หรือแกน) ของปรมาณู คำที่ใช้แทนกันได้คือ พลังงานปรมาณู (Atomic energy) ซึ่งเป็นคำที่เกิดขึ้นก่อนและใช้กันมาจนติดปาก โดยอาจเป็นเพราะมนุษย์เรียนรู้ถึงเรื่องของปรมาณู (Atom) มานานก่อนที่จะเจาะลึกลงไปถึงระดับนิวเคลียส แต่การใช้ศัพท์ที่ถูกต้องควรใช้คำว่า พลังงานนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดีคำว่า Atomic energy ยังเป็นคำที่ใช้กันอยู่ในกฏหมายของหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดความหมายของคำว่าพลังงานปรมาณู ไว้ในมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 ในความหมายที่ตรงกับคำว่า พลังงานนิวเคลียร์ และต่อมาได้บัญญัติไว้ในมาตรา3 ให้ครอบคลุมไปถึงพลังงานรังสีเอกซ์ด้วย การที่ยังรักษาคำว่าพลังงานปรมาณูไว้ในกฎหมาย โดยไม่เปลี่ยนไปใช้คำว่าพลังงานนิวเคลียร์แทน จึงน่าจะยังคงมีประโยชน์อยู่บ้าง เพราะในทางวิชาการถือว่า พลังงานเอกซ์ไม่ใช่พลังงานนิวเคลียร์ การกล่าวถึง พลังงานนิวเคลียร์ในเชิงปริมาณ ต้องใช้หน่วยที่เป็นหน่วยของพลังงาน โดยส่วนมากจะนิยมใช้หน่วย eV, KeV (เท่ากับ1,000 eV) และ MeV (เท่ากับ 1,000,000 eV) เมื่อกล่าวถึงพลังงานนิวเคลียร์ปริมาณน้อย และนิยมใช้หน่วยกิโลวัตต์- ชั่วโมง หรือ เมกะวัตต์-วัน เมื่อกล่าวถึงพลังงานปริมาณมากๆ โดย: 1MWd=เมกะวัตต์-วัน = 24,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และ 1MeV=1.854x10E-24 MWd
พลังนิวเคลียร์ (Nuclear power)

เป็นศัพท์คำหนึ่งที่มีความหมายสับสน เพราะโดยทั่วไปมักจะมีผู้นำไปใช้ปะปนกับคำว่า พลังงานนิวเคลียร์ โดยถือเอาว่าเป็นคำที่มีความหมายแทนกันได้ แต่ในทางวิศวกรรมนิวเคลียร์เราควรจะใช้คำว่าพลังนิวเคลียร์ เมื่อกล่าวถึงรูปแบบหรือวิธีการเปลี่ยนพลังงานจากรูปหนึ่งไปสู่อีกรูปหนึ่งเช่น โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ย่อมหมายถึง โรงงานที่ใช้เปลี่ยนรูปพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือเรือขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ ย่อมหมายถึงเรือที่ขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนรูปพลังงานนิวเคลียร์มาเป็นพลังงานกล เป็นต้น พลังนิวเคลียร์เป็นคำที่มาจาก Nuclear power ในภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาอังกฤษเอง เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับดุลอำนาจระหว่างประเทศ (Nuclear power) กลับหมายถึง มหาอำนาจนิวเคลียร์ หรือประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์สะสมไว้เพียงพอที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ (โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นพหูพจน์) การเน้นให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคำ พลังนิวเคลียร์ และ พลังงานนิวเคลียร์ ก็เพราะในด้านวิศวกรรม พลังควรมีความหมาย เช่นเดียวกับกำลัง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงพลังในเชิงปริมาณู จะต้องใช้หน่วยที่เป็นหน่วยของกำลัง เช่น "โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ขนาด 600 เมกะวัตต์ (ไฟฟ้า) โรงนี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด (BWR) ขนาด 1,800 เมกะวัตต์ (ความร้อน) เป็นเครื่องกำเนิดไอน้ำแทนเตาน้ำมัน" เป็นต้น

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ


โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย โรงไฟฟ้าชนิดนี้ใช้น้ำในลำน้ำธรรมชาติเป็นพลังงานในการเดินเครื่อง โดยวิธีสร้างเขื่อนปิดกั้นแม่น้ำไว้ เป็นอ่างเก็บน้ำ ให้มีระดับอยู่ในที่สูงจนมีปริมาณน้ำ และแรงดันเพียงพอที่จะนำมาหมุนเครื่องกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งอยู่ในโรงไฟฟ้าท้ายน้ำที่มีระดับต่ำกว่าได้ กำลังผลิตติดตั้งและพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าชนิดนี้ จะเพิ่มเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงดันและปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเครื่องกังหันน้ำโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบ่งตามลักษณะการบังคับน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ 4 แบบ คือ

1. โรงไฟฟ้าแบบมีน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-river Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบนี้ไม่มีอ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าโดยการใช้น้ำที่ไหลตามธรรมชาติของลำน้ำ หากน้ำมีปริมาณมากเกินไปกว่าที่โรงไฟฟ้าจะรับไว้ได้ก็ต้องทิ้งไป ส่วนใหญ่โรงไฟฟ้าแบบนี้จะอาศัยติดตั้งอยู่กับเขื่อนผันน้ำชลประทานซึ่งมีน้ำไหลผ่านตลอดปีจากการกำหนดกำลังผลิตติดตั้งมักจะคิดจากอัตราการไหลของน้ำประจำปีช่าวต่ำสุดเพื่อที่จะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าชนิดนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าที่ กฟผ.กำลังศึกษาเพื่อก่อสร้างที่เขื่อนผันน้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท และเขื่อนผันน้ำวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี

2. โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก (Regulating Pond Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่สามารถบังคับการไหลของน้ำได้ในช่วงสั้นๆ เช่น ประจำวัน หรือประจำสัปดาห์ การผลิตไฟฟ้าจะสามารถควบคุมให้สอดคล้องกับความต้องการได้ดีกว่าโรงไฟฟ้าแบบ (Run-of-river) แต่อยู่ในช่วงเวลาที่จำกัดตามขนาดของอ่างเก็บน้ำ ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าประเภทนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี และโรงไฟฟ้าขนาดเล็กบ้านสันติ จังหวัดยะลา

3. โรงไฟฟ้าแบบมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (Reservoir Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบนี้มีเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่และสูงกั้นขวางลำน้ำไว้ ทำให้เกิดเป็นทะเลสาบใหญ่ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝนและนำไปใช้ในฤดูแล้งได้ โรงไฟฟ้าแบบนี้นับว่ามีประโยชน์มาก เพราะสามารถควบคุมการใช้น้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า เสริมในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงตลอดปี โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ส่วนมากในประเทศไทยจัดอยู่ในโรงไฟฟ้าประเภทนี้

4. โรงไฟฟ้าแบบสูบน้ำกลับ ( Pumped Storage Hydro Plant) โรงไฟฟ้าแบบนี้มีเครื่องสูบน้ำที่สามารถสูบน้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำลงมาแล้ว นำกลับขึ้นไป เก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีก ประโยชน์ของโรงไฟฟ้าชนิดนี้เกิดจากการแปลงพลังงานที่เหลือใช้ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำเช่นเวลาเที่ยงคืนนำไปสะสมไว้ในรูปของการเก็บน้ำในอ่างน้ำเพื่อที่จะสามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกครั้งหนึ่งในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง เช่น เวลาหัวค่ำ ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าแบบนี้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ได้หน่วยที่ 4 ซึ่งสามารถสูบน้ำกลับขึ้น ไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ได้


7/25/2555

พลังงานน้ำ : พลังงานทดแทน

     พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้
          พลังงานน้ำเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานศักย์จากความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก  การนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ประโยชน์ทำได้โดยให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ   พลังงานศักย์ของน้ำถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์   อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนนี้คือ   กังหันน้ำ  (Turbines)  น้ำที่มีความเร็วสูงจะผ่านเข้าท่อแล้วให้พลังงานจลน์แก้กังหันน้ำ   ซึ่งหมุนขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากแหล่งน้ำที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ พลังงานน้ำตก   พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง   พลังงานคลื่น  
          1.  พลังงานน้ำตก   การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนี้ทำได้โดยอาศัยพลังงานของน้ำตก  ออกจากน้ำตามธรรมชาติ หรือน้ำตกที่เกิดจากการดัดแปลงสภาพธรรมชาติ  เช่น  น้ำตกที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ  น้ำตกจากทะเลสาบบนเทือกเขาสู่หุบเขา   กระแสน้ำในแม่น้ำไหลตกหน้าผา   เป็นต้น   การสร้างเขื่อนกั้นน้ำและให้น้ำตกไหลผ่านกังหันน้ำซึ่งติดอยู่บนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังงานน้ำที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ปล่อยลงมา  ดังนั้นการผลิตพลังงานจากพลังงานนี้จำเป็นต้องมีบริเวณที่เหมาะสมและการสร้างเขื่อนนั้นจะต้องลงทุนอย่างมาก   แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจคาดว่าทั่วโลกสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าจากกำลังน้ำมากกว่าพลังงานทดแทนประเภทอื่น  
          2.  พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง   มีพื้นฐานมาจากพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์   โลก  และดวงจันทร์   จึงจัดเป็นแหล่งพลังงานประเภทใช้แล้วไม่หมดไป สำหรับในการเปลี่ยนพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า  คือ  เลือกแม่น้ำหรืออ่าวที่มีพื้นที่เก็บน้ำได้มากและพิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงมีค่าสูงแล้วสร้างเขื่อนที่ปากแม่น้ำหรือปากอ่าว  เพื่อให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขึ้นมา  เมื่อน้ำขึ้นจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ  และเมื่อน้ำลงน้ำจะไหลออกจากอ่างเก็บน้ำ   การไหลเข้าออกจากอ่างของน้ำต้องควบคุมให้ไหลผ่านกังหันน้ำที่ต่อเชื่อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  เมื่อกังหันน้ำหมุนก็จะได้ไฟฟ้าออกมาใช้งานหลักการผลิตไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลงมีหลักการเช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำตก  แต่กำลังที่ได้จากพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงจะไม่ค่อยสม่ำเสมอเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงขึ้นลงของน้ำ   แต่อาจจัดให้มีพื้นที่กักน้ำเป็นสองบริเวณหรือบริเวณพื้นที่เดียว   โดยการจัดระบบการไหลของน้ำระหว่างบริเวณบ่อสูงและบ่อต่ำ  และกักบริเวณภายนอกในช่วงที่มีการขึ้นลงของน้ำอย่างเหมาะสม  จะทำให้กำลังงานพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงสม่ำเสมอดีขึ้น
          
3. พลังงานคลื่น เป็นการเก็บเกี่ยวเอา พลังงานที่ลม ถ่ายทอดให้กับผิวน้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นวิ่งเข้าสู่ชายฝั่งและเกาะแก่งต่างๆเครื่องผลิต ไฟฟ้าพลังงานคลื่นจะถูกออกแบบให้ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำบริเวณหน้าอ่าวด้านหน้าที่หันเข้าหา คลื่น การใช้คลื่นเพื่อผลิตไฟฟ้านั้นถ้าจะให้ได้ผลจะต้องอยู่ในโซนที่มียอดคลื่นเฉลี่ยอยู่ที่ 8 เมตร ซึ่งบริเวณนั้นต้องมีแรงลมด้วย แต่จากการวัดความสูงของยอดคลื่นสูงสุดในประเทศไทยที่จังหวัดระนองพบว่า ยอดคลื่นสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 4 เมตรเท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่นในปัจจุบันนั้นยังคงไม่สามารถใช้ในบ้านเราให้ผลจริงจังได้
 
ประโยชน์ของพลังงานน้ำ
          พลังงานน้ำ มีประโยชน์หลายอย่างในการนำมาใช้ ประโยชน์หลักๆ มีดังนี้ 
          - พลังงานน้ำเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่หมดสิ้น คือเมื่อใช้พลังงานของน้ำส่วนหนึ่งไปแล้วน้ำส่วนนั้นก็จะไหลลงสู่ทะเลและน้ำในทะเลเมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ เมื่อไอน้ำรวมตัวเป็นเมฆจะตกลงมาเป็นฝนหมุนเวียนกลับมาทำให้เราสามารถใช้พลังงานน้ำได้ตลอดไปไม่หมดสิ้น

          - เครื่องกลพลังงานน้ำสามารถเริ่มดำเนินการผลิตพลังงานได้ในเวลาอันรวดเร็ว และควบคุมให้ผลิตกำลังงานออกมาได้ใกล้เคียงกับความต้องการ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงมาก ชิ้นส่วนของเครื่องกลพลังงานน้ำส่วนใหญ่จะมีความคงทน และมีอายุการใช้งานนานกว่าเครื่องจักรกลอย่างอื่น
          - เมื่อนำพลังงานน้ำไปใช้แล้ว น้ำยังคงมีคุณภาพเหมือนเดิมทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก เช่น เพื่อการชลประทาน การรักษาระดับน้ำในแม่น้ำให้ไหลลึกพอแก่การเดินเรือ เป็นต้น
          - การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บและทดน้ำให้สูงขึ้น สามารถช่วยกักน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงที่ไม่มีฝนตก ทำให้ได้แหล่งน้ำขนาดใหญ่สามารถใช้เลี้ยงสัตว์น้ำหรือใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ และยังช่วยรักษาระบบนิเวศของแม่น้ำได้โดยการปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อไล่น้ำโสโครกในแม่น้ำที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ไล่น้ำเค็มซึ่งขึ้นมาจากทะเลก็ได้ 
          แต่พลังงานน้ำมีข้อเสียบางประการ เช่น การพัฒนาแหล่งพลังงานน้ำต้องใช้เงินลงทุนสูง และยังทำให้เสียพื้นที่ของป่าไปบางส่วน นอกจากนี้พลังงานน้ำยังมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น เช่น หน้าแล้งหรือกรณีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และมักเกิดปัญหาในเรื่องการจัดหาบุคลากรไปปฏิบัติงาน รวมทั้งการซ่อมแซม บำรุงรักษาสิ่งก่อสร้าง และอุปกรณ์ต่าง ๆ จะไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะสถานที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชน