7/15/2555

พลังงานทดแทน ของ กฟผ.

           
        ทุกวันนี้   ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม   ดูจะไม่ใช่เป็นเพียงแฟชั่นหรือกระแสที่ผ่านมาแล้ว   ก็ผ่านไปเท่านั้น   แต่ได้กลายเป็น “พันธกิจ” ของมนุษย์ทุกเชื้อชาติ   ที่ต้องคิดค้น “นวัตกรรม” เพื่อตอบโจทย์การอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

          หลายหลากนวัตกรรมสีเขียว   หรือนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมด้านพลังงานดู จะมีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมให้ชัดเจนที่สุดนั่นอาจเป็นเพราะความจำเป็นในการแสวงหาและใช้พลังงาน   ซึ่งเป็นเสมือนปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต   กอปรกับทุกประเทศทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตพลังงานหลายครั้งหลายคราในช่วงที่ผ่านมา   ล่าสุดเมื่อกลาง พ.ศ. 2551 เกิดภาวะราคาน้ำมันโลกถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง   และกลับทรุดตัวลงอย่างหนักในช่วงปลายปี   ซึ่งผู้วชาญคาดการณ์ว่าน้ำมันอาจคงราคาต่ำเพียงชั่วคราว   และราคาจะถีบตัวสูงขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้   ซึ่งการแกว่งตัวอย่างรุนแรงของราคาน้ำมันได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชากรโลกรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จึงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาวิจัยและศึกษาการใช้ “พลังงานทดแทน” มานับทศวรรษ   นอกจากนี้การพึ่งพาแห่งพลังงานจากภายนอกเพียงอย่างเดียวมิได้ส่งผลกระทบแต่เฉพาะด้านเศรษฐกิจ   ทว่าส่งผลถึงความมั่นคงของประเทศด้วย   สำหรับประเทศที่มีภาคเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานอย่างประเทศไทย   การพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น พลังงานชีวมวล ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางเกษตร   และช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้จากพืชพลังงาน   ที่สำคัญคือ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  จึงเรียกได้ว่าตอบโจทย์ได้ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
          
“พลังงานทดแทน” เชื้อเพลิงทางเลือกทางรอดประเทศไทย
         โลกของพลังงาน แงออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป   หรือ พลังงานจากฟอสซิล น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถใช้ทดแทนพลังงานฟอสซิลได้

          ปัจจุบันประเทศไทยจ้องนำเข้าพลังงานกว่าร้อยละ 60 ของความต้องการเชื้อเพลิงในเชิงพาณิช   เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ขณะที่แหล่งพลังงานของประเทศมีจำกัด และมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง   โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน

          กระทรวงพลังงาน   ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลนโยบายพลังงานของประเทศ   จึงส่งเสริมให้มีการ“กระจายแหล่งเชื้อเพลิงอย่างเหมาะสม” พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนา “พลังงานทางเลือก” ต่างๆ ให้เป็น “นวัตกรรมทางพลังงาน” เพื่อเป็นทางรอดของประเทศในอนาคต
          “สำหรับประเทศที่มีภาคเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานอย่างประเทศไทย   การพัฒนาพลังงานทดแทน เช่นพลังงานชีวมวล   ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตร   และช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมีรายได้จากพืชพลังงานที่สำคัญคือ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   จึงเรียกได้ว่าตอบโจทย์ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
         ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าจนถึง พ.ศ. 2549 สูงถึงร้อยละ 66.5 กระทรวงพลังงานจึงตอบปรับแผนสนับสนุนให้นำเชื้อเพลิงที่หลากหลายเข้าสู่ระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศ   และส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น   เพราะเป็นพลังงานสะอาด   ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพืชเกษตร เช่น แกลบ เศษไม้ หรือของเสีย เช่น มูลสัตว์ หรือขยะ รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ลม และแสงอาทิตย์ และยังจูงใจด้วยการขายเป็น “คาร์บอนเครดิต” ตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ให้แก่ประเทศที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงตามพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งมีภาระผูกพันในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนด้านพลังงาน

- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สาขา เทคโนโลยีพยังงาน (ป.โท) สาขาการจัดการพลังงาน (ป.โท)
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิศกรรมพลังงาน (ป.โท)
- มหาวิทยาลัยนเรศวร สาขา พลีงงานทดแทน (ป.ตรี)
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาเทคโนโลยีพลังงาน (ป.ตรี)
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาพลังงานทดแทน (ป.ตรี)

วันที่ 15 กรกฏาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น