6/20/2555

ไบโอดีเซล (Biodiesel)

ไบโอดีเซล (Biodiesel)

น้ำมันเชื้อเพลิงจากพืช เป็นความจำเป็นที่หลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต้องหาแหล่งพนักงานทดแทนพลังงานจากปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดลง ซ้ำราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งก็แพงขึ้นอย่างมาก จึงทำให้เราต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน มาทดแทนน้ำมันกันอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) พลังงานลม (Wind Energy) พลังงานชีวมวล (Biomass) ไบโอแก๊ส (Biogas) และที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในตอนนี้เห็นจะเป็น "ไบโอดีเซล" (Biodiesel) ซึ่งภาครัฐกำลังให้การสนับสนุน เพื่อผลิตเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน และลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และยังเป็นการเพิ่มรายได้ ให้กับภาคเกษตร แถมยังช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนอีกด้วยความเป็นมาของไบโอดีเซล

ไบโอดีเซล เป็นที่รู้จักมานานแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อาฟริกาใต้ใช้น้ำมันพืชขับเคลื่อนเครื่องยนต์ แต่ในช่วงนั้นน้ำมันปิโตรเลียมมันหาง่าย และราคาถูก จึงไม่ได้รับความสนใจ จนในปี 2513 เกิดวิกฤติการณ์น้ำมัน หลาย ๆ หน่วยงานในภาครัฐรวมทั้งสถาบันต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศผู้ใช้น้ำมันจึงได้ทำการวิจัย และพัฒนาเชื้อเพลิงชนิดนี้ จนกระทั่งสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้

ไบโอดีเซลคืออะไร

ไบโอดีเซล คือ เชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากการนำน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ หรือแม้แต่น้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหารมาผ่านกระบวนการทางเคมี โดยในกระบวนการผลิตนั้นจะผสมน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์แอลกอฮอล์ ทำปฏิกิริยากันจนได้เชื้อเพลิง เพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล

ไบโอดีเซล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. น้ำมันพืช หรือ น้ำมันสัตว์

2. ไบโอดีเซลแบบลูกผสม

3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์

ไบโอดีเซลชนิดนี้ เป็นไบโอดีเซลในความหมายที่เป็นสากล ที่ใช้ในเมืองนอกทั่วไป เช่น ในอเมริกา แคนนาดา บราซิล หรือแม้แต่ในมาเลเซีย ไบโอดีเซลชนิดนี้มีกระบวนการที่ยุ่งยากมากกว่า ต้องผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า Transesterification คือ การน้ำเอาน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ไปทำปฏิกิริยากับ แอลกอฮอล์ โดยใช้กรดและด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้เอสเทอร์ จะเรียกไบโอดีเซลเอสเทอร์ ที่ได้ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำปฏิกิริยา ถ้าเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ เรียกเมทิลเอสเทอร์ และถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ ก็จะเรียกว่าเอทิลเอสเทอร์ นอกจากนี้ยังได้ "กลีเซอรีล" เป็นผลพลอยได้ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมยา และอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์

เอสเทอร์ดีกว่าน้ำมันตรงไหน

ไบโอดีเซลเอสเทอร์มีคุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด แต่ให้การเผาไหม้ที่สะอาดกว่า ไอเสียมีคุณภาพดีกว่าเพราะออกซิเจนให้การสันดาปที่สมบูรณ์กว่าน้ำมันดีเซล จึงทำให้เกิดคาร์บอนมอนน๊อคไซด์น้อย และในไบโอดีเซลเอสเทอร์ไม่มีกำมะถัน จึงไม่มีปัญหาเรื่องซัลเฟส นอกจากนี้ยังมีเขม่าคาร์บอนน้อย จึงไม่ทำให้เกิดการอุดตันของระบบไอเสีย แถมยังช่วยยืดการทำงานของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย

มีการทดลองใช้เอสเทอร์ของน้ำมันปาล์มที่เรียกว่า FAME (Fatty Acid Methyl Ester) กับเครื่องยนต์ดีเซลพบว่าเชื้อเพลิงที่ได้มีความหนืดใกล้เคียงกับน้ำมันไบโอดีเซล เมื่อเกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับน้ำมันในปี 2543 อีกครั้ง จึงทำให้ประเทศไทยเริ่มตื่นตัว และวิจัยเรื่องพลังงานทดแทนอีกครั้ง จึงทำให้ไบโอดีเซลได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

น้ำมันไบโอดีเซลชนิดนี้ มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วของกระทรวงพาณิชย์และจากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่พอใจ เพราะไม่มีความแตกต่างจากน้ำมันดีเซลปกติ ในเรื่องของการติดเครื่องอัตราเร่งไอเสีย ไม่มีกลิ่น ควันดำลดลง

นอกจากนี้ผู้บริโภคยังต้องการให้หน่วยงานภาครัฐให้การรับรองว่า การใช้น้ำมันไบโอดีเซลนี้ จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเครื่องยนต์ในระยะยาว และต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบข้อมูลเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องการให้มีสถานีบริการเพิ่มขึ้น

แนวโน้มการใช้ไบโอดีเซลในประเทศไทย

ไบโอดีเซลเหมาะที่จะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และมักจะประสบปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ประเทศไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการทำไบโอดีเซล เช่น มะพร้าว ปาล์ม เมล็ดทานตะวัน หากนำผลผลิตเหล่านี้มาแปรรูปเป็นน้ำมันไบโอดีเซล เพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลในภาคเกษตร อย่างน้อยก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ในเรื่องการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้พืชผลทางการเกษตรมีราคาสม่ำเสมออีกด้วย

นอกจากเรื่องการลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศแล้ว ไบโอดีเซลยังช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วจำนวนมากนับล้าน ๆ ลิตร/วัน จะได้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกไม้ต้องเททิ้งให้เป็นปัญหาต่อแม่นำลำคลอง และสิ่งแวดล้อม

ข้อดี ไบโอดีเซลช่วยในเรื่องมลภาวะของอากาศ ซึ่งไบโอดีเซลถือเป็นเชื้อเพลิงที่ดีที่สุด ที่จะช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน (Greenhouse Effect) และไบโอดีเซลยังสามารถช่วยลดมลพิษได้ แม้จะผสมเข้ากับเชื้อเพลิงปิโตรเลียม แต่ไบโอดีเซลก็นับเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงไม่กี่ชนิดที่สามารถทำงานร่วมกับดีเซลธรรมดา ซึ่งนับเป็นข้อดีมาก ๆ เพราะยานพาหนะที่ใช้น้ำมันดีเซลนั้นอยู่ได้นานถึง 25 ปี หรือมากกว่านั้น ถ้าเราหันมาใช้ไบโอดีเซล อากาศจะบริสุทธิ์ขึ้น และยังช่วยในด้านพลังงานของประเทศอีกด้วย ข้อสรุป ถ้าเรามองในภาพรวมทั้งประเทศเราจะเห็นว่า แนวโน้มการใช้พลังงานที่มากขึ้น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แม้กระทั่งมลภาวะที่แย่ลงทุกวัน ถ้าเราหันมาใช้พลังงานทดแทนจากภาคเกษตรแล้วนั้น ผลที่ได้คือ

1.ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศนั้น หมายถึงลดเงินตราออกนอกประเทศ

2.ส่งเสริมรายได้ให้กับภาคเกษตร ให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมอ

3.สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ช่วยภาวะโลกร้อน และลดภาวะมลพิษในอากาศตัวการให้เกิดปัญหาต่าง ๆ

4.ช่วยเรื่องภาวะสิ่งแวดล้อม เช่นน้ำมันที่ปรุงอาหารแล้วจำนวนมาก ได้กลับมาใช้ได้อีก โดยไม่ต้องเททิ้งให้เป็นปัญหาต่อแม่น้ำลำคลอง และสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย

1.ถั่วเหลือง

2.ถั่วลิสง

3.ปาล์มน้ำมัน

4.งา

5.มะพร้าว

6. ละหุ่ง

วัตถุดิบที่ใช้ผลิตไบโอดีเซลในต่างประเทศ

ชนิดของพืช

1.ฝรั่งเศส เมล็ดเรพ,เมล็ดทานตะวัน

2.สเปน เมล็ดเรพ,เมล็ดทานตะวัน

3.อิตาลี ถั่วเหลือง

4.ออสเตรเลีย น้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหาร

5.เยอรมันเมล็ดเรพ,น้ำมันที่เหลือจากการทอดอาหาร

6. สหรัฐอเมริกา ถั่วเหลือง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 044-213525,282081,282701-2

มือถือ 089-7172245,0897174005

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น